ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ ๒ - ๖ พระจริยาวัตรที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

พระจริยาวัตรที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
๑. ทรงมีเมตตากรุณาสูงยิ่ง พระองค์ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ก็ทรงสงสารอยากให้เขาได้พ้นทุกข์ จึงเสด็จออกผนวช เพื่อตรัสรู้แล้วจะได้ช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์เหล่านั้น
  • แม้พระเทวทัตจะคิดมุ่งร้ายทำลายพระองค์ให้ถึงกับสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็มิได้มีพระทัยโกรธเคือง ตรงกันข้ามกลับทรงสงสารปรารถนาให้พระเทวทัตละเว้นจากความประพฤติชั่วนั้นให้ได้ เป็นที่ทราบกันว่า พระองค์ทรงรักและเมตตาต่อราหุลกุมารมากเพียงใด พระองค์ก็ทรงรักและเมตตาต่อผู้ทีี่ี่มุ่งร้ายพระองค์มากเพียงนั้นเช่นกัน นี่คือตัวอย่างแห่งความเมตตากรุณาของพระุพุทธเจ้า
๒. ทรงมีความพากเพียรสูงยิ่ง เมื่อพระองค์ตั้งพระทัยจะทำอะไรแล้ว ทรงพยายามจนสุดความสามารถเพื่อให้ได้สิ่งที่ทรงประสงค์ พระองค์ทรงต้องการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จึงได้พยายามอย่างเต็มที่ ด้วยการทรมานพระองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ จนกระทั่งท้ายสุดทรงอดอาหารจนพระวรกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกในที่สุดทรงตั้งปณิธานว่า "ตราบใดที่ยังไม่บรรลุสิ่งที่ต้องการจะไม่ยอมลุกจากที่นั่ง แม้เนื้อและโลหิตจะเหือดแห้งไปเหลือแต่กระดูกก็ตามที"
๓. ทรงใฝ่รู้และทรงแก้ปัญหาด้วยปัญญา ตั้งแต่ทรงพระเยาว์พระองค์ทรงอยากรู้ว่าทำไมคนจึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็พยายามแสวงหาความรู้จากการทดลองด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งทรงรู้แจ้งบในที่สุด พระองค์ทรงใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา คือเมื่อทรงทำอะไรผิดพลาดล้มเหลว ก็ทรงพิจารณาว่า ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร และควรจะแก้ไขอย่างไร ดังกรณีที่ทรงคิดว่า การอดอาหารจะทำให้บรรลุครั้นทำไปนานเข้าจนกระทั่งทรงซูบผอมสิ้นพละกำลัง ก็ทรงตระหนักว่า วิธีทรมานตนมิใช่แนวทางที่ถูกต้องจึงทรงหันมาดำเนินตามทางสายกลางเป็นต้น
๔. ทรงเป็นนักเสียสละ คนที่เสียสละจะไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน และประโยชน์ของพวกตน แต่จะยอมสละความสุขส่วนตัวและประโยชน์ที่ตนพึงได้ เพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่เจ้าชายสิทธัตถะอยากให้สัตว์โลกได้พ้นจากความทุกข์ จึงยอมเสียสละพระชายา พระโอรสละทิ้งราชสมบัติที่พระองค์จะพึงได้ ยอมสละความสุข สนุก สบาย ที่เจ้าชายในราชสำนักจะพึงได้ พระองค์สละหมดทุกอย่าง เพื่อหาทางช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น