ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บุญกิริยาวัตถุ

บุญบาป

จะศึกษาเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ควรได้ทำความเข้าใจในทรรศนะของพระพุทธศาสนา ในปัญหาเรื่องบาปบุญเสียก่อน ได้มีคนอยู่ไม่น้อยที่เข้าใจว่า บุญเป็นวัตถุอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งแห่ล้อมไปกับผู้มีบุญ คอยให้ผลอย่างมากมายในชาติหน้า และบาปก็เป็นวัตถุอีกอย่างหนึ่ง หรือเป็นบันทึกโทษที่ยมบาลได้จารึกลงในหนังสุนัขซึ่งจะใช้เป็นข้อฟ้องร้องในอวสานแห่งชีวิต ความเข้าใจอย่างนี้ จะว่าผิด

ทีเดียวก็ไม่ได้ แต่คงจะเกินเหตุผลความจริงอยู่บ้าง

ที่แท้แล้ว บุญคือความดีขึ้นแห่งจิต และบาปก็คือ ความเสียหายแห่งจิตนั่นเอง ความดีขึ้น เจริญขึ้น ประณีตขึ้น สูงขึ้นแห่งจิต มีที่ดูได้ง่าย ๆ คือ ดูที่ความสะอาดผุดผ่องของจิต ฉะนั้น อาการดีขึ้นของจิตทั้งหมด รวมใช้คำว่า บุญ แปลว่า บริสุทธิ์สะอาด

ความต่ำทราม ความเสื่อมโทรม และความเสียหายของจิต ท่านรวมใช้คำว่า ชั่ว เลว เสีย สกปรก

บุญ คือความสะอาดแห่งจิต ฉะนั้น จึงไม่เป็นของยากที่จะวินิจฉัย ความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนเรา เช่น ความสะอาดของร่างกาย ความสะอาดของที่อยู่ ความสะอาดของเสื้อ ความสะอาดของถ้วยชาม และในทุกกรณี ความสะอาดจำเป็นทั้งนั้น เราจึงต้องล้างหน้า อาบน้ำ ปัดกวาดบ้านเรือน ซักเสื้อผ้า และล้างถ้วยล้างชามเพื่อจะให้เกิดความสะอาด สิ่งของเหล่านี้ ถ้าสะอาดแล้ว ใช้งานได้ดี ไม่มีโทษ และเกิดความสวยงาม

จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าสะอาดแล้ว ย่อมปลอดโปร่ง ความคิดอ่านแจ่มใส เป็นความคิด

ที่ไม่มีภัย ความคิดสะอาดนั้น ยังเป็นพลังสำคัญในการส่งจิตเข้าสู่คติอันดีเมื่อออกจากร่างนี้แล้วด้วย

ฉะนั้น พระจึงสอนให้เราทำความสะอาดจิต แต่ท่านใช้คำว่าทำบุญตามสำนวนทางศาสนา การทำบุญนั้นเป็นการทำประโยชน์แก่ตัวเราเอง มิใช่ทำให้พระอย่างบางคนเข้าใจ พระท่านเป็นเพียงผู้บอกกล่าวในการทำบุญของเรา ถึงท่านจะได้รับผลจากกการทำบุญของคนอื่น ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เหมือนเราอาบน้ำฟอกสบู่ ก็เป็นการกระทำประโยชน์ให้ตัวเราโดยตรง ส่วนบริษัทขายสบู่จะได้ผลบ้าง นั่นเป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่จะเรียกว่าเราอาบน้ำเพื่อทำประโยชน์ให้บริษัทขายสบู่ไม่ได้

บุญกิริยาวัตถุ คือ วิธีทำบุญ มี ๓ วิธี คือ

. ทาน การให้ (ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน)

ความหมายและความมุ่งหมาย ทานคือการให้ โดยทั่วไป มี ๒ ประการ คือ

- การให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้เอง

- การให้เพื่อมุ่งสงเคราะห์ผู้รับ

ทั้งสองความมุ่งหมายนี้ ท่านใช้ศัพท์ว่า ทาน เหมือนกัน แต่ในบุญกิริยาวัตถุนี้

มุ่งหมายเอาการให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้เท่านั้น

ทานสมบัติ ๓ (คุณสมบัติของทาน)

การให้ทาน ซึ่งจะทำให้บังเกิดผลในทางฟอกกิเลสนั้น จะต้องเป็นการให้ที่มีองค์สมบัติ

อย่าง ที่เรียกว่า ทานสมบัติ คือ:-

- วัตถุ คือ ของที่จะให้ทาน จะต้องเป็นของที่ได้มาโดยบริสุทธิ์

- เจตนา คือ มีความตั้งใจที่จะทำบุญ มิใช่มุ่งอย่างอื่น

- บุคคล คือ บุคคลผู้ให้และผู้รับเป็นคนดีมีศีล

ทานที่มีองค์สมบัติครบทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นทานที่มีผลสมบูรณ์ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลก็ลดลงตามส่วน โปรดสังเกตว่า การให้สิ่งของซึ่งเรียกว่า ทาน ถ้ากระทำได้ตามหลักเกณฑ์

ดังนี้ จิตของผู้ให้ย่อมจะถูกขัดเกลาให้สะอาดขึ้นทุกคราว ที่เรียกว่า ได้บุญ

. ศีล (ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล)

ความหมาย ศีล คือ การตั้งใจรักษากายวาจาของตนให้ปกติและเรียบร้อย ไม่ละเมิดข้อห้ามต่าง ๆ ตามภูมิชั้นของตน

ความมุ่งหมาย การรักษาศีลเป็นวิธีฝึกร่างกายและจิตใจควบกันไป สามารถทำให้กิเลสซึ่งรัดตรึงจิตอยู่คลายตัวออกได้อย่างประหลาด และมีความสะอาดผุดผ่องขึ้นแทน ความสะอาดผุดผ่องนั่นแหละ คือ บุญที่ได้

ชั้นของศีล พระพุทธเจ้าทรงวางกำหนดการรักษาศีลไว้เป็นชั้น ๆดังนี้

ชั้นคฤหัสถ์ รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘

ชั้นสามเณร รักษาศีล ๑๐

ชั้นภิกษุ รักษาศีล ๒๒๗

ศีลที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมมี ๕ ข้อ ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ส่วนศีล ๘ - ๑๐ - ๒๒๗ นั้น เป็นส่วนขยายจากศีลห้า ให้ละเอียดยิ่งขึ้น บางทีศีลที่ขยายขึ้นไปท่านเรียกว่า วัตรหรือ พรต

. ภาวนา (ภาวนา บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา)

ความหมาย ภาวนา หมายถึงการอบรมจิตให้ฉลาด ให้รู้ผิดรู้ชอบจนกระทั่งให้เกิดปัญญา สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้น

กิจ (หน้าที่) กิจที่เรียกว่า ภาวนา ในที่นี้หมายถึง

การศึกษา หมายถึง การเรียน อ่าน ฟัง ฝึกให้รู้และชำนิชำนาญงานต่าง ๆ

การวิจัยงาน หมายถึงการใช้ปัญญาค้นคว้าหาเหตุผลในการทำงาน รวมทั้งการค้นคิด

ประเภทของภาวนา ประเภท คือ

. สมถะ หมายถึง การทำสมาธิให้ใจสงบ

. วิปัสสนา หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาสังขาร

โดยหลักปฏิบัติทั้ง ๔ นี้ ท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่าภาวนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนและทุกวัย และภาวนาเป็นการสร้าง บุญขึ้นที่จิตใจโดยตรงทีเดียว เพราะเป็นการกำจัดกิเลสออกจากจิต

วิธีทำจิตใจให้สะอาด ความจริงยังมีอีกมาก การปฏิบัติธรรมะ หรือการประพฤติดี

ทุกข้อก็เป็นการทำให้จิตสะอาดได้ทั้งนั้น แต่ที่ท่านจัดบุญกิริยาวัตถุไว้อย่างนี้ เป็นการแสดงหัวข้อปฏิบัติแยกออกเป็น ๓ สายเท่านั้น

เพราะกิเลสที่จะยึดครองจิตของเรามี ๓ สาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธเจ้าจึง

ทรงวางแผนปฏิบัติกำจัดกิเลส ที่เรียกว่า วิธีทำบุญไว้ ๓ สาย เข้าต่อสู้คู่กันกับกิเลสดังกล่าวนี้ ซึ่งยิ่งทำให้ฝ่ายกิเลสปราชัยไปได้มากเท่าไร จิตก็ยิ่งสะอาดมากเท่านั้น และกล่าวตามสำนวนศาสนาว่า ได้บุญมาก

ข้อควรจำที่สำคัญ คือการปฏิบัติเพื่อต่อต้านกิเลส จำเป็นจะต้องทำควบกันไปทั้ง ๓ ทาง คือ ทาน ศีล ภาวนา เพราะกิเลสรุกมา ๓ ทาง การทำบุญด้วยวิธีให้ทานอย่างเดียว แต่ไม่รักษาศีล ไม่บำเพ็ญภาวนาเลย บุญที่ได้ก็ไม่สมบูรณ์

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ ประโยชน์ในปัจจุบัน (การสร้างตัว)

พระพุทธศาสนาสอนให้คนพึ่งตนเอง ความสำเร็จทุกอย่าง ย่อมเป็นผลจากการกระทำของแต่ละคน มิใช่ได้ด้วยการอ้อนวอนผู้ศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนให้ประทานลงมา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ คนสร้างตัวให้สำเร็จ ผู้ที่สร้างตัวเองให้เป็นหลักฐานมั่นคงไม่ได้ ย่อมยากที่จะปฏิบัติธรรมะชั้นสูงขึ้นไปให้ได้ผลดี นอกจากไม่สามารถจะนำตัวเอง และครอบครัวให้ประสบความสุขแล้ว ยังเป็นภาระ ของสังคมอีกด้วย

การสร้างตัว การสร้างตัว คือ การจัดการเศรษฐกิจให้กับตัวเอง ทางพระพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักไว้ ๔ อย่าง คือ

. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ถึงพร้อมด้วยความหมั่น จะศึกษา

เล่าเรียน หรือประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตาม ความหมั่นขยันนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะให้ได้รับผลสำเร็จ

เราต้องการทรัพย์ ต้องการความสุข ตลอดจนความเคารพรักจากผู้อื่น เราจะได้สิ่งเหล่านั้นมาด้วย

ความหมั่นขยัน

. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา เช่น รักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้สูญหาย ประหยัดใช้ให้เกิดประโยชน์ รักษาหน้าที่ของตนมิให้เสื่อมเสีย มีทรัพย์แล้วต้องรักษาทรัพย์ที่มีไว้

ทรัพย์จึงจะมากขึ้นไปได้ มีวิชาแล้วต้องรักษา ด้วยวิธีนำออกใช้ให้เหมาะ วิชาจึงจะรุ่งเรือง

. กัลยาณมิตตตา ความมีคนดีเป็นมิตร คนที่มีทรัพย์และรักษาไว้ได้ แต่ขาดเพื่อน

ก็คับแคบ มีเพื่อนไม่ดี ก็ทำให้เสียตัว เสียความประพฤติ และเสียทรัพย์สมบัติได้ แต่ถ้ามีเพื่อนดี ก็จะเป็นการสนับสนุนให้อาชีพรุ่งโรจน์ได้ ทั้งยังคอยป้องกันช่วยเหลือในยามตกทุกข์ได้ยากอีกด้วย . สมชีวิตา การครองชีพเหมาะสม คือใช้จ่ายตามควรแก่รายได้ ไม่ฟุ่มเฟือยหรือ

ฝืดเคืองเกินไป คนจ่ายทรัพย์เกินกำลัง หรือไม่จำเป็น แต่ยังขืนจ่าย เรียกว่า ฟุ่มเฟือย เป็นสาเหตุให้เกิดหนี้สินและทุจริต คนที่ทนอด ทนหิว หรือจำเป็นแล้วไม่จ่าย เป็นการฝืดเคืองเรียกว่า ตระหนี่

ผู้ประหยัดทรัพย์ ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและสมควร ทำให้เกิดผลคุ้มค่าของเงินที่จ่ายไป ชื่อว่าเป็น

ผู้ครองชีวิตเหมาะสม

ผู้ประพฤติหลักธรรมการสร้างตัวทั้ง ๔ นี้ให้เต็มที่ ย่อมสร้างตัวได้สำเร็จ แม้ฐานะทางการศึกษา และทางสังคมของแต่ละคนจะแตกต่างกันเพียงใดก็ตาม หลักธรรม ๔ ข้อนี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถสร้างตัวได้ตามฐานะนั้น ๆ ถ้าถือคติว่า สร้างทุกอย่างที่สร้างสรรค์ขึ้นมาได้ รักษาทุกอย่างที่จะรักษาไว้ได้ เสียสละทุกอย่างที่จะเสียสละได้ ก็ย่อมเป็นบุคคลที่สร้างตนได้อย่างสมบูรณ์แท้

การคบมิตร ( มิตรแท้ ๔, มิตรเทียม ๔ )

นักจิตวิทยาเห็นว่า ความเสื่อมหรือความเจริญของบุคคล อยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพ

ประการ คือ

. พันธุกรรม

. สิ่งแวดล้อม

และได้กล่าวถึงความสำคัญของสภาพทั้ง ๒ ไว้ว่า พันธุกรรมวางพื้นฐานชีวิต สิ่งแวดล้อมกำหนดขอบเขตความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต

ความเห็นของนักจิตวิทยา สอดคล้องกับมติพระพุทธศาสนาในเรื่องพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม แต่ทางพระพุทธศาสนามีความหมายเรื่องพันธุกรรมกว้างและลึกซึ้งมากกว่าทางจิตวิทยา ในที่นี้จะไม่นำเรื่องพันธุกรรมมากล่าว จะกล่าวเฉพาะสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว มีภาษิตว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส แปลว่า คบคนเช่นใดก็เป็นคนเช่นนั้น นั่นคือ อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมตามทัศนะของพระพุทธศาสนา

บรรดาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่มีหรือมีรูปธรรม เช่น คน โรงเรียน สถานที่ทำงานหรือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่นกฎหมาย ข้อบังคับ จารีต ประเพณี หรืออื่นนอกจากนี้ก็ตาม ทางพระพุทธศาสนาถือว่า คนสำคัญกว่าทุกอย่าง เพราะสิ่งต่าง ๆ เกิดจากคนทั้งนั้น คนสร้างขึ้นและบันดาลให้เป็นไป ในจำนวนคนที่เราใกล้ชิด ผู้เป็นมิตรสหาย สำคัญกว่าทุกคน มิตรได้แก่คนที่คุ้นเคยรักใคร่สนิทสนมกัน ส่วนสหาย ได้แก่คนที่เคยเห็น เคยร่วมงานกัน มิตรสำคัญกว่าสหาย เพราะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ถ่ายเทอัธยาศัยใจคอ และกิริยามารยาท ตลอดถึงความประพฤติให้กัน ฉะนั้น การคบมิตรจึงจำต้องเลือก มิตรดีเรียกกัลยาณมิตร มิตรไม่ดีเรียกปาปมิตร หรือมิตรดีเรียกมิตรแท้ มิตรไม่ดีเรียกคนเทียมมิตร มิตรเหล่านี้ มีลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้

มิตรแท้ จำพวก

. มิตรมีอุปการะ . มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์

มีลักษณะ ๔ อย่าง มีลักษณะ ๔ อย่าง

. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว . ขยายความลับของตนแก่เพื่อน

. ป้องกันทรัพย์สมบัติของ . ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้

เพื่อนผู้ประมาทแล้ว แพร่งพราย

. เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ . ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ

. เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้ . แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้

เกินกว่าที่ออกปาก

. มิตรแนะประโยชน์ . มิตรมีความรักใคร่

มีลักษณะ ๔ อย่าง มีลักษณะ ๔ อย่าง

. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว . ทุกข์ ๆ ด้วย

. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี . สุข ๆ ด้วย

. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง . โต้เถียงคนพูดติเตียนเพื่อน

. บอกทางสวรรค์ให้ . รับรองคนที่กล่าวสรรเสริญเพื่อน

มิตร ๔ ประเภทนี้ จัดเป็นกัลยาณมิตร ควรคบ คบแล้วจะช่วยให้ชีวิตรุ่งโรจน์ ตรงตามภาษิตที่ว่า คบคนดีเป็นศรีแก่ตัวหรือ คบบัณฑิต ๆ พาไปหาผล

คนเทียมมิตร จำพวก

. คนปอกลอก . คนดีแต่พูด

มีลักษณะ ๔ อย่าง มีลักษณะ ๔ อย่าง

. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว . เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย

. เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก . อ้างเอาของที่ไม่มีมาปราศรัย

. เมื่อมีภัยถึงตัวจึงรับทำกิจให้เพื่อน . สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้

. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว . ออกปากพึ่งไม่ได้

. คนหัวประจบ . คนชักชวนในทางฉิบหาย

มีลักษณะ ๔ อย่าง มีลักษณะ ๔ อย่าง

. จะทำชั่วก็คล้อยตาม . ชักชวนดื่มน้ำเมา

. จะทำดีก็คล้อยตาม . ชักชวนเที่ยวกลางคืน

. ต่อหน้าว่าสรรเสริญ . ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น

. ลับหลังว่านินทา . ชักชวนเล่นการพนัน

มิตร ๔ ประเภทนี้ จัดเป็นบาปมิตร หรือมิตรเทียม ไม่ควรคบ คบแล้วจะทำให้ชีวิตอับเฉา เสื่อมเกียรติ ตรงตามภาษิตที่ว่า คบคนชั่วอัปราชัยหรือ คบคนพาล ๆ พาไปหาผิด

อกุศลมูล ๓ และกุศลมูล ๓

อกุศลมูล ๓ และกุศลมูล ๓

การทำความชั่วทุกอย่างย่อมนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้กระทำ และผู้อื่น ส่วนการทำความดี ทุกอย่างก็ย่อมนำความสงบสุขมาสู่ผู้กระทำและผู้อื่นเช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรรู้ถึงต้นเหตุที่ทำให้คนทำความชั่วหรือความดี เพื่อจะได้หาทางหยุดยั้งการทำความชั่วและสนับสนุนการทำความดีต่อไป

อกุศลมูล

อกุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุของความชั่วหรือต้นกำเนิดของความชั่ว ซึ่งมีทั้งหมด ๓ ประการ คือ

. โลภะ หมายถึง ความอยากได้ไม่รู้จักพอ อยากได้ในสิ่งที่ตนไม่มี อยากได้สิ่งของของผู้อื่น ความอยากได้นี้จะทำให้คนกล้าทำชั่วเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ เช่น การพูดโกหก การทำร้าย

ผู้อื่น การฉ้อโกง การลักขโมย เป็นต้น

. โทสะ หมายถึง ความคิดประทุษร้าย ความโกรธ ความฉุนเฉียว ความพยาบาท ผู้ที่มีโทสะจะกล้าทำชั่วได้ทุกอย่างเพื่อทำให้ผู้ที่ตนไม่พอใจได้รับความเดือดร้อน เช่น การกลั่นแกล้ง การทำร้ายให้บาดเจ็บหรือตาย และการให้ร้าย เป็นต้น

. โมหะ หมายถึง ความหลง ความเขลา ความโง่ ความเข้าใจผิด ความหมกมุ่น ผู้ที่มีโมหะจะอยู่ในสภาวะที่ไม่รู้จริง หลงผิด ซึ่งเป็นสาเหตุให้กล้าทำชั่วได้ทุกอย่าง เช่น เสพยาเสพ ติดเพราะคิดว่าจะช่วยให้ตนสบายใจ คดโกงเพื่อนเพราะคิดว่าคนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด เป็นต้น

ดังนั้น ถ้าบุคคลใดมี โลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็ย่อมทำชั่วได้ทุกอย่างอยู่ตลอดเวลา เราจึงควรขจัดสิ่งเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากตนเอง

กุศลมูล

กุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุของความดี หรือต้นกำเนิดของความดี มีทั้งหมด ๓ ประการคือ

. อโลภะ หมายถึง ความไม่อยากได้ในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน ความไม่อยากได้ในสิ่งที่ไม่ควรจะได้ หรือความไม่อยากได้ในสิ่งต่าง ๆ จนเกินความพอดี คนที่มีอโลภะมักจะปรารถนาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาตามกำลังสติปัญญาหรือความสามารถของตน รู้จักแบ่งปัน และรู้จักเสียสละ

. อโทสะ หมายถึง ความไม่โกรธ ไม่คิดประทุษร้าย ไม่พยาบาท คนที่มีอโทสะมักจะให้อภัยผู้อื่นเสมอ รู้แพ้ชนะ และอดทน อดกลั้นความโกรธได้

. อโมหะ หมายถึง ความไม่หลง ไม่ขาดสติ คนที่มีอโมหะจะเป็นคนรอบรู้เฉลียวฉลาดในสิ่งที่ควรรู้ รู้ว่าสิ่งใดเป็นสิ่งดีที่ควรปฏิบัติ และสิ่งใดไม่ดีไม่ควรปฏิบัติ ดังนั้น ถ้าบุคคลส่วนใหญ่ไม่มีอกุศลมูล แต่มีกุศลมูล ก็ย่อมส่งผลให้สังคมนั้นมีแต่ความสงบสุข รู้ต้นเหตุของการทำความชั่วคือ โลภะ โทสะ โมหะ เรียกว่า อกุศลมูล และรู้ต้นเหตุของการทำความดีคือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ซึ่งเรียกว่า

กุศลมูล

อบายมุข

อบายมุข

แม้ผู้มียศ มีทรัพย์ และมีชื่อเสียง ถ้าตกไปสู่อบายมุขดังจะกล่าวต่อไปนี้ ทุกสิ่งที่เขา

มีอยู่ ย่อมพลันถึงความพินาศ การศึกษาเรื่องอบายมุขนี้ เพื่อความมั่นคงส่วนตน

อบายมุขท่านแสดงไว้ นัย คือ อบายมุข กับ อบายมุข ๖ ดังนี้

อบายมุข ๔ อบายมุข ๖

. ความเป็นนักเลงหญิง ๑.ดื่มน้ำเมา

. ความเป็นนักเลงสุรา ๒.เที่ยวกลางคืน

. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน ๓.เที่ยวดูการเล่น

. ความคบคนชั่วเป็นมิตร ๔.เล่นการพนัน

คำว่า อบาย แปลว่า ความเสื่อม คือฐานะที่ไม่มีความเจริญ นักศึกษาคงจะเคยได้ยินเรื่องอบายภูมิ ซึ่งหมายถึงภูมิชั้นที่อยู่ อันปราศจากความเจริญ ได้แก่กำเนิดเดียรัจฉาน นรก เปรต อสุรกาย อบายเหล่านี้เป็นอบายในภพหน้า คนจะตกได้ต่อเมื่อตายไปแล้ว

ส่วนอบาย ที่เรียกว่าอบายมุขนี้ เป็นอบายในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงความเสื่อม ความพินาศล่มจม เห็นกันทันตา

เหตุใดท่านจึงใช้คำว่า อบายมุข ซึ่งแปลว่าปากแห่งความเสื่อม จะใช้คำว่า อบาย เฉย ๆ ไม่ดีหรือ ? ที่ว่า ปาก หมายถึงช่องทางจะตกลงไป เช่น ปากบ่อ ปากเหว ปากหม้อ ปากไห ความประพฤติ อย่าง และ อย่างนั้น ท่านว่าเป็นปากแห่งความเสื่อม ก็เพราะเป็นช่องทางที่จะพลัดตกลงไปสู่ความฉิบหาย คือ ไม่ฉิบหายลงไปทันทีทันใด แต่ค่อย ๆ ฉิบหายลงโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่นการเล่น

การพนัน มีได้มีเสีย ผู้เริ่มเล่นอาจได้เงินจำนวนมาก ๆ ร่ำรวยทันตา ลวงใจให้ติดแต่ปลายทางก็ถึงความล่มจม ดังนี้เป็นต้น ท่านจึงใช้คำว่าปากแห่งความเสื่อม แทนที่จะเรียกว่า อบายเฉย ๆ (ในทางกรรมและผล นักศึกษาต้องเข้าใจว่า อบายมุขเป็นเหตุ คือหมายถึงการกระทำจะทำให้เสื่อม ส่วนคำว่า อบายเฉย ๆ นั้น เป็นผลซึ่งเกิดจากเหตุแล้ว ในเรื่องนี้ท่านต้องการแสดงตัวเหตุ จึงได้ตั้งชื่อว่า อบายมุข)

ความหมายและผลเสียหายของอบายมุข

อบายมุข

อบายมุขสี่ มีความร้ายแรงยิ่งกว่าอบายมุข คงจะเห็นได้ว่า ในข้อ ๑ - ๒ และ ๓ ท่านใช้คำว่า นักเลง คือเป็นผู้ประพฤติหมกมุ่นอยู่ในสิ่งนั้นจริง ๆ

คนที่จะเรียกว่า นัก…” นั้น ต้องหมายถึงคนที่หมกมุ่นติดพันอยู่กับสิ่งนั้นจริง ๆ ไม่ใช่ริทำเพียงครั้งคราว เช่น นักเรียน นักมวย นักโทษ นักร้อง ฯลฯ แต่ที่นี้ได้แก่ นักเลง ความหมายแต่ละข้อ ก็พอจะเข้าใจกันอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบายมาก เช่น

. ความเป็นนักเลงหญิง หมายความว่า เป็นคนเจ้าชู้ โลภในกาม ถ้าเป็นชายก็ใฝ่ฝันแต่ ผู้หญิงเป็นหญิงก็ร่านหาแต่ชายรัก, คนอย่างนี้แม้อยู่ในวัยเรียน ก็เสื่อมจากการเรียน อยู่ในวัยทำงานก็ จะทอดทิ้งงาน มิเป็นอันทำ แม้ผู้มีครอบครัวแล้วก็มักจะมีเรื่องร้าวราน เพราะการนอกใจกันชอบเที่ยว ผู้หญิง ชอบเที่ยวกลางคืน มีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมทางเพศ เช่น คบชู้ หลงไหลในเพศตรงข้ามจนเกินพอดี มีความมักมากทางกามารมณ์ โทษของการเป็นนักเลงหญิง มีดังนี้

- เป็นการไม่รักษาตัว คนที่เที่ยวเตร่มากมัวเมาลุ่มหลงมาก ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจไม่ปกติ ไม่อาจประกอบหน้าที่การงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

- เป็นการไม่รักษาลูกเมียหรือครอบครัว ข้อนี้สำหรับคนที่แต่งงานแล้ว การประพฤติผิดทางเพศ เช่น การคบชู้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายย่อมทำให้ครอบครัวเดือดร้อน

- เป็นการไม่รักษาทรัพย์สมบัติ คนที่ชอบเที่ยวกลางคืนหรือหลงไหลเพศตรงข้ามมากย่อมจะต้องใช้จ่ายเงินเกินกว่าปกติเพื่อบำเรอคนที่ตนรัก ซึ่งถ้าเหมาะสมกับฐานะก็ไม่เป็นไร แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเกินพอดี

- เป็นที่ระแวงของคนทั่วไป ข้อนี้เห็นได้ชัด คนที่ชอบคบชู้ ชอบเที่ยวกลางคืน และหลงไหลคู่รักจนเกินขนาดย่อมไม่มีใครอยากไว้ใจ

- มักถูกใส่ความ เป็นเป้าให้เขาใส่ความหรือข่าวลือ

- เป็นที่มาของความเดือดร้อนนานาชนิด เพราะผู้ที่เป็นนักเลงหญิงเมื่อหมดตัวแล้วก็มักแสวงหาเงินทองมาจับจ่ายด้วยวิธีการทุจริต และเมื่อไม่สมหวังก็อาจแสดงอาการเพ้อเจ้อหรือมีอาการคลุ้มคลั่งทำร้ายผู้อื่นได้ง่าย

. ความเป็นนักเลงสุรา หมายความว่า เป็นนักดื่ม ติดเหล้า ใฝ่ฝันอยู่กับการดื่ม

จนเป็นทาสของสุรา, การดื่มย่อมเป็นการผลาญตัวเองทั้งในทางทรัพย์ ชื่อเสียง สุขภาพ สติปัญญา ติดฝิ่น ติดกัญชา การติดสิ่งมึนเมาอื่น ๆ และยาเสพติดให้โทษ ก็รวมอยู่ในอบายมุขข้อนี้ โทษของการเป็นนักเลงสุรา มีดังนี้

- เสียทรัพย์

- ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท คนเมาเหล้ามักจะทะเลาะกัน ชกต่อยกัน และบางครั้งถึงกับ ฆ่ากัน คนบางคนเวลาไม่เมามีความประพฤติเรียบร้อย แต่พอดื่มเหล้าเข้าไปแล้วต้องหาเรื่องทะเลาะ

กับคนอื่นเกือบทุกครั้ง

- เป็นบ่อเกิดแห่งโรค เหล้าและสิ่งเสพติดทุกอย่างทำให้เสียสุขภาพบั่นทอนกำลังกาย ยาเสพติดหากเสพไปนาน ๆ อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ หรือถ้าไม่ตายก็ไม่มีกำลังวังชาในการประกอบหน้าที่การงานต่าง ๆ

- ทำให้เสียเกียรติยศและชื่อเสียง คนเมาเหล้าอยู่เสมอ คนติดยาเสพติดย่อมไม่มีใครเชื่อ ไม่มีใครยอมรับนับถือไว้วางใจ ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมหรือไม่มีใครอยากให้ทำงานด้วย เพราะคนเช่นนี้ถ้าไม่มีเงินซื้อเหล้าหรือยาเสพติดก็อาจจะกระทำในสิ่งที่ชั่วร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย

- ทำให้ไม่รู้จักอาย คนเมาเหล้าจะกระทำสิ่งต่าง ๆ โดยขาดสติ เพราะถูกฤทธิ์

แอลกอฮอล์ครอบงำ บางคนเมื่อหายเมาแล้วก็ยังไม่รู้ว่าตอนที่เมาอยู่นั้นตนได้ทำอะไรลงไปบ้าง ดังนั้นคนที่เมาเหล้าอยู่เป็นนิจจึงไม่มีใครอยากเกี่ยวข้องคบค้าสมาคมด้วย

- บั่นทอนกำลังสติปัญญา เหล้าและยาเสพติดไม่เพียงแต่บั่นทอนกำลังกายเท่านั้น

แต่ทำให้สติปัญญาเสื่อมความจำไม่ดีหลงลืมง่าย ความคิดและการตัดสินใจเชื่องช้าลงเรื่อย ๆ จนในที่สุดมีสภาพเหมือนกับคนที่ตายทั้งเป็น

. ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน คือ เล่นการพนันขันต่อ มีได้มีเสีย เช่น เล่นไพ่ เล่นเบี้ย

เล่นม้า ฯลฯ คนที่เล่นการพนันจนติดแล้ว จิตใจจะมัวเมาใฝ่ฝันอยู่กับการเล่น เมื่อได้ก็กำเริบใจ คิดจะเล่นซ้ำอีกให้ร่ำรวยมาก ๆ เข้า ครั้นเล่นอีกกลับเสียยุบเสียยับ เมื่อเสียไป ก็คิดจะหาเงินมาเล่นเพื่อแก้ตัว เอาเงินที่เสียไปกลับคืนมา ส่วนมากของคนติดการพนัน มักจะต้องขายสิ่งของที่สะสมไว้ เอาเงินไปเล่น ตระกูลที่มั่งคั่งจริง ๆ ต้องรื้อรั้วบ้านขาย ขายตุ่ม ขายเตียงตู้ รื้อลูกกรงขาย รื้อรั้วขาย และจนกระทั่งขายบ้าน ขายที่ดิน สิ้นเนื้อประดาตัว อย่างทันตา การพนันมีตั้งแต่เรื่องใหญ่ ๆ เช่นแทงม้า เล่นไฮโล เล่นไพ่ เป็นต้น ซึ่งมีการได้เสียนับเป็นเงินหลายร้อย หลายพัน หลายหมื่น หรือหลายล้านบาท จนกระทั่งถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งมีการได้เสียเป็นเงินเพียงไม่กี่บาท เช่น ปั่นแปะ กัดปลา เป็นต้น พระพุทธเจ้า

ได้ทรงแสดงโทษของการเป็นนักเลงการพนันไว้ว่า

- เมื่อชนะย่อมก่อเวร คือ เมื่อเล่นได้ก็ย่อมมีคนอยากแก้มือเรียกร้องให้เล่นอีก

- เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ คือ เมื่อเล่นเสียจิตใจก็ยังเกิดความเสียดายต้องการเล่นอีกต่อไป การพนันทุกชนิดทำให้คนลุ่มหลง เมื่อลองเล่นแล้วก็มักหยุดไม่ได้ หนักเข้าก็ไม่เป็นอันทำงานหรือศึกษาเล่าเรียน

- ทรัพย์สินย่อมเสียหาย ไม่เคยปรากฏว่ามีคนร่ำรวยหรือมีฐานะดีได้ด้วยการพนันเพราะถึงแม้จะเล่นชนะ เงินที่ได้มานั้นก็มักเก็บไว้ได้ไม่นานต้องใช้จ่ายจนหมด

- ไม่มีใครเชื่อถือ ผู้ที่เป็นนักเลงการพนัน ผู้อื่นย่อมขาดความเชื่อถือถ้อยคำ มักถูกมองว่าเป็นคนหลอกลวง

- เพื่อนฝูงดูหมิ่น ไม่อยากคบค้าสมาคมเพราะกลัวจะเสียชื่อตามไปด้วย

- ไม่มีใครอยากได้เป็นคู่ครอง เพราะกลัวชีวิตครอบครัวจะไม่ราบรื่น เนื่องจาก

นักเลงการพนันอาจจะละทิ้งครอบครัวได้ ถ้าหากติดการพนันมาก ๆ

. คบคนชั่วเป็นมิตร คือร่วมกิน ร่วมนอน ร่วมเที่ยว ร่วมอาชีพ ร่วมพวก หรือไปมาหาสู่กับคนชั่ว เรียกว่าคบคนชั่ว, คนอย่างไรเรียกว่าคนชั่ว ? ในที่นี้หมายเอาคนอันธพาลเกเรมีความประพฤติชั่วช้าเสียหาย ทำมาหากินทางทุจริต รวมทั้งที่ชวนให้เราเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงเล่นการพนัน ดังกล่าวแล้ว, โทษของการคบคนชั่ว ก็คือเราจะถูกคนชั่วนำไปในทางเสียหาย ทำให้เราต้องกลายเป็นคนชั่วคนเสียไปด้วย คนเราเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับใครก็มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับเขา เปรียบเหมือนดั่งว่าถ้าเราอยู่ใกล้ของหอม เราก็หอมไปด้วย และถ้าอยู่ใกล้ของเหม็น เราก็ย่อมเหม็นตามไปด้วย ดังนั้นในการเลือกคบผู้ใดเป็นมิตร ต้องระมัดระวังให้ดี โดยพยายามหลีกเลี่ยงไม่คบกับ คนชั่ว ๖ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

. นักเลงการพนัน

. นักเลงเจ้าชู้

. นักเลงสุรายาเสพติด

. นักลวงเขาด้วยของปลอม

. นักหลอกลวง

. นักเลงหัวไม้

อบายมุขทั้ง ๔ นี้ เป็นหนทางใหญ่ที่จะนำคนไปสู่ความเสื่อม หากใครละเว้นเสียได้

ก็ย่อมจะมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างมาก

คุณประโยชน์ของการละเว้นอบายมุข

ผู้ที่ละเว้นจากอบายมุข ๔ ย่อมได้รับคุณประโยชน์ ดังนี้

. ไม่เสียทรัพย์ไปโดยเปล่าประโยชน์

. ไม่หมกมุ่นในสิ่งที่หาสาระมิได้

. ประกอบหน้าที่การงานได้เต็มที่

. ชีวิตไม่ตกต่ำ

. เป็นที่รักใคร่และไว้วางใจของผู้อื่น

. มีพลานามัยสมบูรณ์ พละกำลังและสติปัญญาไม่เสื่อมถอย

. สามารถประกอบหน้าที่การงานได้ด้วยความสุจริต

โทษของอบายมุข

ดื่มน้ำเมา มีโทษ

. เสียทรัพย์

. ก่อการทะเลาะวิวาท

. เกิดโรค

. ต้องติเตียน

. ไม่รู้จักอาย

. ทอนกำลังปัญญา

เที่ยวกลางคืน มีโทษ

. ไม่รักษาตน

. ไม่รักษาลูกเมีย

. ไม่รักษาทรัพย์

. เป็นที่ระแวงของคนอื่น

. มักถูกใส่ความ

. ได้ความลำบาก

เที่ยวดูการเล่น มีโทษตามวัตถุที่ไปดู

. รำที่ไหนไปที่นั่น

. ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น

. ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น

. เสภาที่ไหนไปที่นั่น

. เพลงที่ไหนไปที่นั่น

. เถิดเทิง (กลองยาว) ที่ไหนไปที่นั่น

เล่นการพนัน มีโทษ

. เมื่อชนะก็ก่อเวร

. เมื่อแพ้ก็เสียดาย

. ทรัพย์ฉิบหาย

. ไม่มีคนเชื่อถือ

. เพื่อนดูหมิ่น

. ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย

คบมิตรชั่ว มีโทษ ๖

. นำให้เป็นนักเลงเล่นการพนัน

. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

. นำให้เป็นนักเลงเหล้า

. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

. นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า

. นำให้เป็นนักเลงหัวไม้

เกียจคร้านทำงาน มีโทษ มักยกเหตุต่าง ๆ เป็นข้ออ้างผิดเพี้ยนไม่ทำการงาน

โดยอ้างว่า

. หนาวนัก

. ร้อนนัก

. เวลาเย็นแล้ว

. ยังเช้าอยู่

. หิวนัก

. กระหายนัก - แล้วไม่ทำงาน