ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ ๒ - ๒ ตรัสรู้

ตรัสรู้
  • พระสิทธัตถะ ได้เสด็จดำเนินโดยลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้าทรงรับข้าว "มธุปายาส" จากนางสุชาดา ซึ่งนำมาถวายด้วยเข้าใจว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอลูกชายไว้ หลังเสวยข้าวมธุปยาสแล้ว ทรงลอยถาดในแม่น้ำเนรัฐชรา ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ จากนายโสตถิยะมาปูลาดเป็นอาสนะ (ที่นั่ง) ณ โคนต้นโพธิประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฏางค์พิงต้นโพธิ ทรงพิจารณาความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายจนเกิดญาณ (การหยั่งรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)
  • ความรู้แจ่มแจ้งนั้น ปรากฎขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่าเกิดความสว่างโพลงภายใน ที่ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เป็นความรู้ที่สามารถตอบปัญหาที่ค้างพระทัยมาเป็นเวลา ๖ ปีได้สำเร็จ
  • สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้เรียกว่า "อริยสัจ" (ความจริงอันประเสริฐ) มี ๔ ประการ คือ
๑. ทุกข์ ความทุกข์ หรือปัญหาของชีวิตทั้งหมด โดยย่อคือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
๒. สมุทัย สาเหตุของทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหาชีวิต ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ หรือภาวะหมดปัญหา คือ พระนิพพาน
๔. มรรค ทางดับทุกข์ หรือแนวทางแก้ปัญหาชีวิต คือ
มัชฌิมาปฏิปทาได้มรรค มีองค์ ๘ ซึ่งสรุปลงในไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
  • เมือ่ เกิดความรู้ในอริยสัจนี้ขึ้น ทำให้กิเลส (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) หมดสิ้นไปจากจิตใจพระองค์กลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ (ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ) หรือพระพุทธเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
หลักธรรม
  • คำสอนของพระองค์นั้น จัดเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. พระธรรม ได้แก่ คำสอน ซึ่งขัดเกลาจิตชำระใจของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์ มีความสุขความเจริญและคุ้มครองรักษาผู้ประฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๒. พระวินัย คือ ข้อบัญญัติที่พระองค์ทรงวางไว้เพื่อควบคุมกายวาจาศาสนิก ให้มีระเบียบเรียบร้อย พระธรรมกับพระวินัย รวมกันเรียกว่า "พระพุทธศาสนา"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น