ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 121 - 140

121.สมัย ร. 8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
122.สังคายนา หมายถึง การรวบรวม การตรวจสอบ ชำระพระธรรมและพระวินัย โดยการสังคายนาครั้งที่ 2 มีพระเจ้ากาลาโศกถวาย
การอุปถัมภ์ สาเหตุ เพราะภิกษุปฏิบัติผิดวินัย เช่น ฉันอาหารเลยเวลาเที่ยง เป็นต้น การสังคายนาครั้งนี้เป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยก
เป็น 2 นิกาย....1.เถรวาท 2. มหาสังฆิกะ
123.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย
ยุคที่ 1.เถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช มาทางสุวรรณภูมิ ขุดพบที่ จ.นครปฐม คือ ศิลารูปธรรมจักรกับกวางหมอบ
ยุคที่ 2.ยุคมหายาน พ.ศ.1300 เจดีย์พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี , พระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ยุคที่ 3.ยุคเถรวาทแบบพุกาม พ.ศ.1600 ตอนเหนือของไทย ล้านนา ลงมาถึง ลพบุรีและทวาราวดี
ยุคที่ 4.เถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1698 ตั้งมั่นอยู่เมืองนครศรีธรรมราช
สมัยสุโขทัย พ.ศ.1800-1920 พ่อขุนรามคำแหงอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชไปยังสุโขทัย
-เจดีย์ช้างล้อม ( ทรงระฆัง ) วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ( ทรงบัวตูม ) วัดเจดีย์เจ็ดแก้ว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-สมัยสุโขทัยรุ่งเรืองมาก พระยาลิไททรงพระราชนิพนธ์ “เตภูมิถกา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” เกี่ยวกับความคิดความ
เชื่อและวิ๔ปฏิบัติของประชาชน ในเรื่องนรก สวรรค์ และการทำดีทำชั่ว
สมัยล้านนา พ.ศ.1913 พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์
สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ส่งพระสงฆ์ไปสืบพระพุทธศาสนาแบบสยามวงศ์(อุบาลีวงศ์) ในศรีลังกา
สมัยธนบุรี พ.ศ.2310-2325 พระเจ้าตากสินโปรดฯให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากที่ต่างๆมาเก็บไว้
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2523-ปัจจุบัน
-ร.1 โปรดฯสร้างหอมณเทียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง
-ร.2 อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา และส่งพระสงฆ์ 7 รูปไปสืบพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา
-ร.3 โปรดฯรวบรวมพระไตรปิฎกบับภาษาต่างๆ ,ตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
-ร.4 ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญมากขึ้น


-ร.5 จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทยครั้งแรก 1,000 ชุด ,รับพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่บรมบรรพต
(ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ,สถาปนามหามกุฎราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
-ร.6 พระราชนิพนธ์หนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร , เทศนาเสือป่า ฯลฯ
-ร.7 พิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทย 1,500 ชุด , ประกวดการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก
-ร.8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
-ร.9 ทรงผนวช พ.ศ.2499 , สร้างพุทธมณฑลเป็นพุทธบูชา และเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ(พ.ศ.2500) ,วิทยาลัยสงฆ์
พัฒนาเป็นขั้นอุดมศึกษา
124.ความสำคัญของพุทธศาสนา....1.เป็นศาสนาประจำชาติ 2.เป็นหลักของการดำเนินชีวิต 3.เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมไทย
125.วันมาฆบูชา.... วันพระธรรม ,วันจาตุรงคสันนิบาต , แสดงโอวาทปาติโมกข์ – หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอน
คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ พร้อมสอนชาวพุทธ “ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่
ความดีมีคุณประโยชน์ ไม่ทำลายผู้อื่น
126.วันวิสาขบูชา....วันพระพุทธ โดยมีเหตุการณ์ ประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน เนปาล , ตรัสรู้อริยสัจ คือ ความจริง 4 ประการ ณ พุทธคยา , ปรินิพพาน ถือเป็นการเตือนจิตสำนึกในวิถีชีวิตแห่งความไม่ประมาท , เป็นวันสากลของ UN เพราะให้กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ ที่ยิ่งใหญ่
127.วันอัฐมีนบูชา....แรม 8 ค่ำ เดือน 6 หลังวันวิสาขบูชา 8 วัน, ระลึกถึงงานถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า , วันระลึก ถึงเหตุการณ์ที่ปารถนาจะจัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกด้วย
128.วันอาสาฬหบูชา.....วันพระสงฆ์ , แสดงธรรมครั้งแรกและกัณฑ์แรก “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” สูตรการหมุนของพระธรรมจักร
( ตราศาสนาพุทธ ) ,พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังธรรมแล้วเกิดดวงตราเห็นธรรมและขอบวชในพุทธ
ศาสนา , มีพระรัตนตรัยครบถ้วนบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
129.อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ....1.ทุกข์ – ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2.สมุทัย – ปัญหามีสาเหตุและมิได้เกิดขึ้น
ลอยๆ 3.นิโรธ – มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 4.มรรค - การแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียร
130.คิหิสุข คือ ความสุขของคฤหัสถ์ มี 4 ประการ.....1.อัตถิสุข คือ สุขจากการมีทรัพย์ 2.โภคสุข คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3.อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ 4.อนวัชชสุข คือ สุขจากความประพฤติไม่มีโทษ – สำคัญที่สุด
131.ไตรสิกขา คือ....หลักการพัฒนาชีวิตให้ประสบผลสำเร็จเป็นคนสมบูรณ์ตามแนวพุทธ – ศีล สมาธิ ปัญญา
132.กรรมฐาน คือ....ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ – วิธีฝึกอบรมจิต 2 ประเภท
1.สมถกรรมฐาน – วิธีฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ เป็นอุบายสงบใจ
2.วิปัสสนากรรมฐาน – วิธีฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง เป็นอุบายเรื่องปัญญา
133.ปธาน คือ ความเพียร
1.สังวรปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพียรระวัง เพียรโละ
2.ปหานปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรระวัง เพียรโละ
3.ภาวนาปธาน – เพียรเจริญ / สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
4.อนุรักขนาปธาน – เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
134.โกศล 3 คือ ปัญญาความรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ฉลาดรอบรู้ทั้งเหตุและผลของสิ่งต่างๆ
1.อายโกศล – ความฉลาดในความเจริญ รู้จักเหตุและประโยชน์ของความเจริญ
2.อปายโกศล – ความฉลาดในความเสื่อม รู้จักเหตุและโทษแห่งความเสื่อม
3.อุปายโกศล – ความฉลาดในอุบาย รู้จักวิธีการละความเสื่อมและสร้างเหตุแห่งความเจริญทำให้ความเจริญสำเร็จ
135.หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล เช่น....1.หลักกฎแห่งกรรม 2.หลักแห่งเหตุและปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น
( อิทัปปัจจยตา) 3.หลักอริยสัจ ทรงสอนมากเป็นพิเศษ 4.หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน 5.หลักบูรณาการ เป็นต้น
136.ทางสายกลาง ทางที่ยึดความพอดี สมดุล หลักพุทธศาสนาที่ยึดทางสายกลาง เรียกว่า....มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
137.มรรค 8 – มรรคมีอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่
1.สัมมาทิฏฐิ – เห็นชอบ , เห็นว่าทำดีได้ดี พ่อแม่มีคุณ ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ยึดมาเป็นของตนไม่ได้ ฯลฯ
2.สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ , ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น หลุดพ้นสิ่งยั่วยวนใจ(กาม) ไม่พยาบาทและเบียดเบียนผู้อื่น
3.สัมมาวาจา – เจรจาชอบ , เว้นพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ 1.เท็จ 2.ส่อเสียด 3.คำหยาบ 4.เพ้อเจ้อไร้สาระ
4.สัมมากัมมันตะ – ทำงานชอบ , เว้นการทำชั่วทางกาย 3 ประการ ได้แก่ 1.ฆ่าสัตว์ 2.ลักทรัพย์ 3.ผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ , เว้นการเลี้ยงชีพในทางผิด
6.สัมมาวายามะ – เพียรพยายามชอบ , พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
7.สัมมาสติ – ระลึกชอบ , พิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึก ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง
8.สัมมาสมาธิ – ตั้งใจมั่นชอบ , ตั้งจิตแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยชอบ
138.พละ 5 ( ธรรมอันเป็นกำลัง )....1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา
139.อริยทรัพย์ 7 ( ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ )....1.ศรัทธา 2.ศีล 3.หิริ 4.โอตัปปะ 5.พหุสัจจะ 6.จาคะ 7.ปัญญา
140.ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา 4 ประการ
1.ตถาคตโพธิสัทธา – เชื่อมั่นในการเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์
2.กัมมสัทธา – เชื่อมั่นในการกระทำ
3.วิปากสัทธา – เชื่อมั่นในผลของการกระทำ
4.กัมมัสสกตาสัทธา – เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น