ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ ๒ - ๘ พุทธจริยาอันเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

  • พระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยความรู้แจ้งจริง ทรงมีความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย วาจา และใจ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตโดยประการทั้งปวง ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ คือทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้วสั่งสอนให้คนอื่นรู้ตาม ทรงมีความกรุณาอันยิ่งใหญ่ เสียสละความสุขส่วนพระองค์เสด็จออกไปสั่งสอนแนวทางพ้นทุกข์แก่ชาวโลก โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก สิ่งที่ทรงบำเพ็ญตลอดระยะเวลา ๔๕ ปีหลังตรัสรู้ เรียกกันว่า "พุทธจริยา"
  • พุทธจริยา แปลตามศัพท์ว่า พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้า หรือพูดอย่างภาษาสามัญก็คือ ความประพฤติที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมี ๓ ประการคือ
  1. โลกัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก
  2. ญาตัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติทั้งหลาย
  3. พุทธัตถจริยา พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้า

๑. โลกัตถจริยา : การบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลก การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุเคราะห์แก่ชาวโลกนั้น แสดงออกในพุทธกิจประจำวันนั่นเอง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วันเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นแทบทั้งสิ้น พระองค์แทบไม่มีเวลาพักผ่อนเลย แม้กระทั่งจะประชวรหนักอย่างไรก็ทรงอุตส่าห์ข่มทุกขเวทนา พยายามสั่งสอนผู้อื่น ดังเช่นทรงโปรดสุภัททปริพาชก เมื่อครั้งพระองค์จวนจะปรินิพพาน เป็นต้น พุทธกิจประจำวันแบ่งเป็น ๕ ประการ คือ

  • ช่วงเช้า (ตอนเช้ามืด) เสด็จออกบิณฑบาต การเสด็จบิณฑบาตนี้นอกจากจะเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญตักบาตรแล้ว พระพุทธเจ้ายังถือเป็นโอกาสดีที่จะได้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ (หมายถึงบุคคลที่สามารถแนะนำสั่งสอนให้เข้าถึงธรรมได้) ตามสมควรแก่กรณี เพราะฉะนั้นเราจึงมักเรียกการบิณฑบาตรของพระภิกษะโดยทั่วไปว่า "ไปโปรดสัตว์"
  • ช่วงกลางวัน (หลังเสวยพระกระยาหารเช้า) ทรงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี แสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น
  • ช่วงกลางคืนยามที่ ๑ (เวลาประมาณพบค่ำ - ๓ ทุ่ม) ทรงใช้เวลาตลอดยามนี้ ตอบปัญหาชี้แนะการปฏิบัติกรรมฐาน แสดงธรรม หรือให้คำปรึกษาหารือแก่พระภิกษุสงฆ์
  • ช่วงกลางคืนยามที่ ๒ (เวลาประมาณ ๓ ทุ่ม - เที่ยงคืน) ทรงใช้่เวลาตลอดยามนี้ตอบปัญหาธรรมะและแสดงธรรมแก่เทวดาทั้งหลายที่เสด็จเข้ามาเฝ้า
  • ช่วงกลางคืนยามที่ ๓ (เวลาประมาณเที่ยงคืน - ตี ๓) ในช่วงแรกจะเสด็จดำเนินจงกรมเืพื่อให้พระวรกายผ่อนคลาย ช่วงที่ ๒ เสด็จเข้าบรรทม ช่วงที่ ๓ ตื่นจากบรรทม ประทับนั่งแล้วพิจารณาการสอดส่องเลือกสรรบุคคลที่พระองค์ควรจะเสด็จไปโปรดในช่วงเช้า

๒. ญาตัตถจริยา : การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระประยูรญาติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การสงเคราะห์ญาติเป็นมงคลยิ่งอย่างหนึ่งในจำนวนมงคล ๓๘ ประการ พระพุทธเจ้าเองมิได้ทรงละเลยหน้าที่นี้ การสงเคราะห์พระญาติของพระองค์พอประมวลได้ ดังนี้

  • เมื่อตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงรอเวลาอันสมควรจึงได้เสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดาจนสำเร็จเป็นพระโสดาบัน หลังจากนั้นมา แม้ว่าพระองค์จะไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนัก แต่พระองค์ก็ยังเสด็จไปเยี่ยมพระพุทธบิดาเป็นครั้งคราว เมื่อพระพุทธบิดาสิ้นพระชนม์ก็ได้เสด็จมาถวายพระเพลิงพระบรมศพในฐานะ "ลูก" ที่ดี แสดงแบบอย่างแห่งความกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้ปรากฏ
  • กล่าวกันว่า พระองค์เสด็จไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงห์ เป็นการทดแทนบุญคุณพระมารดาบังเกิดเกล้าสถานหนึ่งด้วย จากเรื่องนี้ทำให้เกิดประเพณีเทศน์อภิธรรมโปรดมารดาหรือแต่งหนังสืออภิธรรมโปรดมารดาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ เช่น พญาลิไท กษัตริย์ สุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ "ไตรภูมิพระร่วง" ทรงบอกจุดประสงค์ไว้ประการหนึ่งว่าเพื่อโปรดพระมารดา
  • ทรงชักนำขัตติยกุมารจากศากยตระกูลหลายองค์ออกบวช เช่น พระอานนท์ พระอนุรุทธะ เป็นต้น นอกจากช่วยอนุเคราะห์ให้ท่านเหล่านั้นได้มาพบทางพ้นทุกข์เป็นการส่วนตัวแล้ว ท่านเหล่านั้นยังได้เป็นกำลังสำคัญในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกด้วย เท่ากับได้ผลสองต่อ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเผื่อแผ่ประโยชน์ด้านนี้แก่พระญาติที่เป็นสตรีด้วย ดังได้ทรงอนุญาตให้พระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งมีฐานะเป็นพระมาตุจฉา(น้า) ของพระองค์ บวชเป็นภิกษุณี เป็นต้น
  • บางครั้งเกียรติยศของศากยตระกูล ถูกคนเข้าใจผิดกล่าวร้ายให้โทษ พระองค์ก็ทรงช่วยชี้แจงให้เข้าใจพระญาติของพระองค์ในทางที่ถูก
  • เมื่อพระญาติทั้งสองฝ่าย คือศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ กำลังจะทำสงครามแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีมาทำการเกษตร พระองค์ก็เสด็จไปห้ามทัพ ชี้แจงให้เห็นถึงความพินาศอันจะตามมาเพราะการทะเลาะเบาะแว้งกันในเรื่องเล็กน้อยนี้ จนทั้งสองฝ่ายหันมาปรองดองคืนดีกันในที่สุด การห้ามสงครามระหว่างเครือญาติของพระองค์ครั้งนี้ นับเป็นการทำประโยชน์แก่พระญาติครั้งสำคัญยิ่ง จึงมีพระพุทธรูปปางหนึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเรียกว่า พระพุทธรูปปางห้ามญาติ (พระพุทธรูปยืนยกพระหัตถ์ขวาในท่าห้ามปราม) ฉ.ก่อนเสด็จปรินิพพานเล็กน้อย พระเจ้าวิฑูฑภะกษัตริย์แห่งแคว้นโกศล ยกทัพไปหมายทำลายล้างพวกศากยะให้สิ้น เพื่อชำระความแค้นแต่หนหลังที่ถูกพวกศากยะดูหมิ่นสมัยยังทรงพระเยาว์พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าจะเกิดความพินาศย่อยยับแก่ศากยวงศ์ สุดจะทนนิ่งดูดาย จึงเสด็จไปป้องกันไว้ถึง ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๔ เป็นคราวเคราะห์กรรมของพวกศากยะ ไม่สามารถทัดทานได้ พระเจ้าวิฑูฑภะ ได้ทำลายล้างเมืองกบิลพัสดุ์เกือบหมดสิ้น สรุปความว่าพระพุทธเจ้าถึงแม้จะอยู่ในฐานะเป็น "คนของโลก" แล้วก็ตาม พระองค์ยังไม่ลืมสายสัมพันธ์แห่งเครือญาติ ทรงอนุเคราะห์ช่วงเหลือพระญาติทั้งหลาย ทั้งส่วนปัจเจกบุคคลและส่วนรวม ตามความเหมาะสมและตามควรแก่กรณี

๓. พุทธัตถจริยา : การบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า หลังจากตรัสรู้แล้่ว พระพุทธเจ้าทรงอุทิศพระองค์เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชาวโลก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยชี้แนะหนทางที่จะทำให้สัตว์โลกทั้งหลายหลุดพ้นจากสังสารวัฎ หรือหาทางป้องกันมิให้สัตว์โลกทั้งปวงก้าวเข้าไปสู่ความเสื่อม ความจริงการประโยชน์แก่ชาวโลกก็นับรวมอยู่ในข้อโลกัตถจริยานั่นเอง แต่การแยกนำมาพูดก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงพุทธจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าให้เห็นเด่นชัดมากยิ่งขึ้น

ภารกิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมาย เช่น

๓.๑ ช่วยสัตว์โลกให้หลุดพ้นห้วงความทุกข์คือ ให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎหรือ การเวียนว่ายตายเกิดตามพระประณิธานที่ทรงตั้งไว้ตลอดเวลาอันยาวนาน ที่ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อพระโพธิญาณ เมื่อทรงข้ามพ้นทุกข์ด้วยพระองค์แล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาช่วยสัตว์อื่นให้หลุดพ้นทุกข์ด้วย โดยการชี้แนะคนที่ชี้แนะได้ฝึกฝนอบรมคนที่ฝึกอบรมได้

๓.๒ ช่วยวางรากฐานการสร้างความดี หรือสร้างอุปนิสัยที่ดีในภายหน้า ในกรณีคนที่แนะหรือฝึกไม่ได้ หยาบช้าหนาแน่นด้วยกิเลสตัณหาเกินกว่าจะเข้าถึงธรรมได้ในปัจจุบัน พระองค์ก็ไม่ทรงทอดทิ้ง ดังกรณีพระเทวทัต ทรงทราบด้วยพระญาณก่อนแล้วว่า พระเทวทัตจะมุ่งทำลายพระองค์และกระทำสังฆเภท (สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์) แต่พระองค์ก็ทรงบวชให้ ด้วยทรงเห็นว่าการบวชประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนาย่อมจักมีความดีงามพอที่จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยแก่พระเทวทัตได้บ้างในภายภาคหน้า

๓.๓ ช่วยสัตว์โลกมิให้ก้าวเข้าสู่ความเสื่อม พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าอีกประการหนึ่ง ก็คือนอกเหนือจากชี้ทางสวรรค์นิพพานให้แก่คนที่พร้อมที่จะดำเนินสู่ทางนั้นแล้ว ยังช่วยปิดอบายหรือปิดกั้นมิให้คนบางประเภทถลำลึกลงสู่ทางเสื่อมฉิบหายมากขึ้น เช่น เสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาลก่อนที่จะพบมารดาระหว่างทางและก่อนที่จะกระทำมาตุฆาต (ฆ่ามารดาอันเป็นกรรมหนัก)

๓.๔ ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อความดำรงมั่นแห่งพระพุทธศาสนา เมื่อเริ่มประกาศพระพุทธศาสนาในระยะแรก ๆ ยังไม่มีพระวินัยหรือศีลสำหรับให้พระภิกษุได้รักษามากมายดังในเวลาต่อมา ผู้เข้ามาบวชส่วนมากเป็นผู้ที่เบื่อหน่ายในโลกียวิสัยแล้ว พร้อมที่จะปฏิบัติตนเพื่อบรรลุธรรมชั้นสูงสุด วินัยหรือศีลสำหรับควบคุมความประพฤติจึงยังมีไม่มาก มีเพียงหลักการกว้าง ๆ ว่า พระภิกษุไม่พึงกระทำกิจ ๔ ประการคือ เสพเมถุน (เสพกาม),ลักทรัพย์,ฆ่ามนุษย์ และอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ต่อมาเมื่อมีผู้ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่การดำรงเพศสมณะขึ้น มีผู้ตำหนิติเตียน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติพระวินัยห้ามมิให้มีการกระทำที่ไม่สมควรเช่นนั้นอีกต่อไป และได้บัญญัติเพิ่มเติมแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ที่เรียกว่า “ศีล” มีทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ (ไม่นับรวมข้อบัญญัติเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกมาก) พระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นนี้เป็นเครื่องควบคุมให้สถาบันสงฆ์มีความสงบเงียบร้อยเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทั่วไป และเป็นเครื่องจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นคงยืนนาน ๓.๕ ทรงสถาปนาสถาบันสืบทอดพระพุทธศาสนา เมื่อมีผู้เข้ามาบวชมากขึ้น ทั้งบุรุษและสตรี พระองค์ได้ทรงตั้งสถาบันพุทธบริษัทขึ้น เรียกว่า “บริษัทสี่” คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พร้อมทั้งทรงวางหน้าที่ที่แต่ละบริษัทจะพึงปฏิบัติ และหน้าที่ที่พุทธบริษัทจะพึงร่วมกันทำเพื่อความวัฒนาสถาพรแห่งพระพุทธศาสนาดังนี้

๑) หน้าที่ของแต่ละบริษัท

ก. ภิกษุ ภิกษุณี มีหน้าที่ดังนี้

  • ห้ามปรามมิให้เขาทำความชั่ว
  • แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
  • อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
  • สั่งสอนสิ่งที่เขายังไม่เคยได้ยินได้ฟัง
  • ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เขาเคยได้ยินได้ฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
  • สอนวิธีดำเนินชีวิตที่ดีงามให้

ข. อุบาสก อุบาสิกา มีหน้าที่ดังนี้

  • ทำ พูด คิด ต่อพระสงฆ์ด้วยเมตตา
  • ต้อนรับพระสงฆ์ด้วยความเต็มใจ
  • อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ด้วยปัจจัยสี่

๒) หน้าที่ของบริษัททั้ง ๔

หน้าที่ของบริษัททั้ง ๔ จะพึงทำร่วมกันมีดังนี้

  • ศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
  • ปฏิบัติตามท่ได้ศึกาเล่าเรียนมาตามความสามารถจนได้รับผลจากการปฏิบัติ
  • เผยแพร่คำสอนให้ผู้อื่นได้รู้ตาม
  • ปกป้องพระพุทธศาสนาจากภัยทั้งภายในและภายนอก

บทที่ ๒ - ๗ พุทธโอวาท ๓

พุทธโอวาท ๓
  • โอวาท แปลว่า คำแนะนำ คำตักเตือน คำสอน ในที่นี้ หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๓ ข้อ ซึ่งถือว่า เป็นแก่นสำคัญหรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โอวาท ๓ นี้ พระพุทธเจ้า ทรงแสดงแก่พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป ในวันมาฆบูชา ซึ่งมีประเด็นสำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
๑. การไม่ทำความชั่วทั้งปวง คนเราทำความชั่วได้ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดทั้งทางด้านกฎหมาย ศีลธรรมและขนบประเพณี ขึ้นอยู่กับว่าจะประพฤติชั่วแบบใด เพราะการทำความชั่วบางอย่างแม้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ผิดศีลธรรมหรือขนบประเพณีได้ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง แยกออกได้ดังนี้
๑) การไม่ทำความชั่วทางกาย ได้แก่
ก. ไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่นำสัตว์มาทรมานมากักขัง
ข. ไม่ลักขโมย ไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้ือื่น
ค. ไม่ประพฤติผิดในกาม รวมตลอดไปถึงการไม่ทำลายวัตถุสิ่งของอันเป็นที่รักของผู้อื่น
๒) การไม่ทำความชั่วทางวาจา ได้แก่
ก.ไม่พูดเท็จ ไม่พูดหลอกลวง
ข.ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดยั่วยุให้คนแตกความสามัคคีกัน
ค.ไม่พูดคำหยาบ
ง. ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล อันหาสาระประโยชน์มิได้
๓) การไม่ทำความชั่วทางใจ ได้แก่
ก.ไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ข.ไม่คิดพยาบาท ปองร้าย หรือคิดแก้แค้น
ค. ไม่เห็นผิดเป็นชอบ ไม่หลงงมงายกับความคิดที่ผิดเช่น ไม่คิดว่าการที่เราทำทุจริต แล้วเขาจับไม่ได้ เป็นเพราะเรามีความสามารถหรือเป็นคนเก่ง เป็นต้น
๒. การทำความดีให้ถึงพร้อม
การไม่ทำความชั่วดังที่กล่าวมา ถือได้ว่าเป็นการทำความดีถึงระดับหนึ่งแล้ว แต่จะให้ดีจริงต้องไม่เพียงแต่ละเว้นความชั่ว หากแต่ต้องประกอบคุณงามความดีด้วย การทำความดีก็ทำได้ ๓ ทางคือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ เช่น
๑) การทำความดีทางกาย ได้แก่
ก.มีเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่น คือปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข ไม่อยากให้เขาได้รับความเดือดร้อนทั้งทางกายและทางใจ
ข.เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ถือเอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตน
ค.มีความสำรวมในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ
๒) การทำความดีทางวาจา ได้แก่
ก.พูดแต่ความจริง มีสัจจะ ไม่พูดเท็จหรือพูดให้ผิดจากความเป็นจริง
ข.พูดแต่คำที่ช่วยส่งเสริมความสามัคคี ช่วยให้คนที่แตกร้าวคืนดีกันไม่พูดยุยงให้คนขัดใจกัน
ค.พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน ไม่พูดคำหยาบ
ง.พูดแต่คำที่มีสาระประโยชน์ พูดให้ถูกกาลเทศะ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๓) การทำความดีทางใจ ได้แก่
ก.พอใจแต่ของที่ได้มาโดยชอบ ไม่คิดโลภในทางทุจริต
ข.แผ่เมตตาให้สัตว์โลกทั้งหลายมีความสุข ไม่มีจิตคิดร้ายต่อใคร ๆ
ค.มีความเห็นชอบ คือเชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีไดดี ทำชั่วได้ชั่ว
๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์
  • มนุษย์เรามีทั้งร่างกายและจิตใจ ความสะอาดของร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ความสะอาดของจิตใจก็สำคัญเหมือนกัน เพราะในแง่ของความประพฤติ จิตใจเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เพราะเมื่อใจคิดก่อนแล้วจึงสั่งให้ร่างกายทำตาม ปกติคนเรานั้นมีจิตใจเป็นใหญ่กว่าร่างกาย ความบริสุทธิ์ของจิตใจจึงมีความสำคัญมากกว่า คนที่สะอาดทั้งกายและใจนั้นย่อมเป็นคนดีน่าคบบค้าสมาคม แต่ถ้าคนๆหนึ่งร่างกายค่อนข้างสกปรกแต่ใจบริสุทธิ์ กับอีกคนหนึ่งร่างกายสะอาดหมดจดแต่จิตใจสกปรก เราก็คงอยากคบหาคนแรกมากกว่า
  • ฉะนั้นเมื่อเราละเว้นไม่ทำความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ และพยายามทำความดีให้ถึงพร้อมแล้วเราก็ควรทำใจให้บริสุทธิ์ด้วย โดยการหมั่นฝึกฝนตนเองให้มีกุศลมูลหรือรากเหง้าแห่งความดีขึ้นในจิตใจอีก ๓ ประการ ได้แก่
๑) อโลภะ ความไม่โลภ คือหมั่นฝึกอบรมจิตใจตนเองให้สามารถระงับตัณหาหรือความอยากได้ โดยไม่ปล่อยให้ตัณหาเกิดขึ้น คนที่ไม่อยากได้สิ่งของของผู้อื่น ย่อมจะไม่ทำความชั่วโดยการลักขโมย ฉ้อโกง เป็นต้น
๒) อโทสะ ความไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย คือพยายามฝึกจิตใจของตนให้เป็นคนมีเมตตา ปรารถนาที่จะเห็นผู้อื่นอยู่อย่างเป็นสุข ไม่เบียดเบียนกัน ผู้ที่มีจิตปราศจากโทสะย่อมจะไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ด่าว่าด้วยคำหยาบ และไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน ตรงกันข้ามกลับจะเป็นคนดีคอยช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้อื่นได้รับแต่ความสุข
๓) อโมหะ ความไม่หลง คือต้องฝึกอบรมจิตใจของตนให้รู้จักเหนุ รูจักผล รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ ผู้ที่ปราศจากความหลงย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก มีความเจริญก้าหน้า ไม่มัวเมาอยู่กับอบายมุขและไม่เกลือกกลั้วอยู่กับสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ

บทที่ ๒ - ๖ พระจริยาวัตรที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

พระจริยาวัตรที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
๑. ทรงมีเมตตากรุณาสูงยิ่ง พระองค์ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ก็ทรงสงสารอยากให้เขาได้พ้นทุกข์ จึงเสด็จออกผนวช เพื่อตรัสรู้แล้วจะได้ช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์เหล่านั้น
  • แม้พระเทวทัตจะคิดมุ่งร้ายทำลายพระองค์ให้ถึงกับสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็มิได้มีพระทัยโกรธเคือง ตรงกันข้ามกลับทรงสงสารปรารถนาให้พระเทวทัตละเว้นจากความประพฤติชั่วนั้นให้ได้ เป็นที่ทราบกันว่า พระองค์ทรงรักและเมตตาต่อราหุลกุมารมากเพียงใด พระองค์ก็ทรงรักและเมตตาต่อผู้ทีี่ี่มุ่งร้ายพระองค์มากเพียงนั้นเช่นกัน นี่คือตัวอย่างแห่งความเมตตากรุณาของพระุพุทธเจ้า
๒. ทรงมีความพากเพียรสูงยิ่ง เมื่อพระองค์ตั้งพระทัยจะทำอะไรแล้ว ทรงพยายามจนสุดความสามารถเพื่อให้ได้สิ่งที่ทรงประสงค์ พระองค์ทรงต้องการบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ จึงได้พยายามอย่างเต็มที่ ด้วยการทรมานพระองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ จนกระทั่งท้ายสุดทรงอดอาหารจนพระวรกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกในที่สุดทรงตั้งปณิธานว่า "ตราบใดที่ยังไม่บรรลุสิ่งที่ต้องการจะไม่ยอมลุกจากที่นั่ง แม้เนื้อและโลหิตจะเหือดแห้งไปเหลือแต่กระดูกก็ตามที"
๓. ทรงใฝ่รู้และทรงแก้ปัญหาด้วยปัญญา ตั้งแต่ทรงพระเยาว์พระองค์ทรงอยากรู้ว่าทำไมคนจึงเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็พยายามแสวงหาความรู้จากการทดลองด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งทรงรู้แจ้งบในที่สุด พระองค์ทรงใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา คือเมื่อทรงทำอะไรผิดพลาดล้มเหลว ก็ทรงพิจารณาว่า ความผิดพลาดหรือความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร และควรจะแก้ไขอย่างไร ดังกรณีที่ทรงคิดว่า การอดอาหารจะทำให้บรรลุครั้นทำไปนานเข้าจนกระทั่งทรงซูบผอมสิ้นพละกำลัง ก็ทรงตระหนักว่า วิธีทรมานตนมิใช่แนวทางที่ถูกต้องจึงทรงหันมาดำเนินตามทางสายกลางเป็นต้น
๔. ทรงเป็นนักเสียสละ คนที่เสียสละจะไม่เห็นแก่ประโยชน์ตน และประโยชน์ของพวกตน แต่จะยอมสละความสุขส่วนตัวและประโยชน์ที่ตนพึงได้ เพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่เจ้าชายสิทธัตถะอยากให้สัตว์โลกได้พ้นจากความทุกข์ จึงยอมเสียสละพระชายา พระโอรสละทิ้งราชสมบัติที่พระองค์จะพึงได้ ยอมสละความสุข สนุก สบาย ที่เจ้าชายในราชสำนักจะพึงได้ พระองค์สละหมดทุกอย่าง เพื่อหาทางช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์

บทที่ ๒ - ๕ นิกายศาสนา

นิกายศาสนา
  • เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ประมาณ ๑๐๐ ปี พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามี ความคิดเห็นแตกต่างกันในการตีความพระพุทธบัญญัติ (วินัย) จึงแยกนิกายออกเป็น ๒ นิกาย คือ
๑. นิกายเถรวาทหรือหีนยาน ได้ขยายตัวไปทางประเทศลังกา พม่า ไทย เขมร ลาว
๒. นิกายมหายาน ขยายตัวไปทางธิเบต จีน ญวน เกาหลี ญี่ปุ่น
  • ทั้งสองนิกายคงปฏิบัติธรรมของพระถทธเจ้าเหมือนกัน แต่ตีความพุทธบัญญัติแตกต่างกัน

บทที่ ๒ - ๔ ปรินิพพาน

ปรินิพพาน
  • เมื่อทรง สถาปนาพุทธบริษัทสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ขึ้นมา แต่ละบริษัทก็เจริญแพร่หลายมีความรู้ความสามารถที่จะสืบสานต่อเจตนารมณ์ของ พระพุทธองค์ และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปได้แล้วพระพุทธเจ้าจึงทรงตัดสินพระทัย เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน (สวนสาละ) ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสพระโอวาทครั้งสุดท้ายว่า
"ภิกษุ ทั้งหลายเราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังกิจของตนและกิจของผู้อื่น ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"

บทที่ ๒ - ๓ ทรงประกาศพระศาสนาและมอบความเป็นใหญ่ให้พระสงฆ์

ทรงประกาศพระศาสนาและมอบความเป็นใหญ่
  • เมื่อ ตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพักผ่อนเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ แล้วเสด็จไปเผยแผ่พระศาสนา โดยเสด็จไปแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียกว่า "ปฐมเทศนา" ธรรมที่ทรงแสดงเรียกว่า "ธัีมมจักกัปปวัตตนสูตร" ซึ่งว่าด้วยแนวทางที่พึงปฏิบัติ เรียกว่า "มัชฌิมปฏิปทาหรือทางสายกลาง" (อริยมรรคมีองค์ ๘) และ "อริยสัจสี่"
  • หลังจากจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะ ได้เกิด "ดวงตาเห็นธรรม" ในวันเพ็ญเดือน ๘ (วันอาสาฬหบูชา) จึงทูลขอบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมาอีกสี่ท่านที่เหลือก็ได้ดวงตาเห็นธรรมและทูลขอบวชตามลำดับ
  • ต่อ จากนั้นมา ได้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาบวชเป็นจำนวนมาก อาทิ ยสกุลบุตร พร้อมสหายชาวเมืองพาราณสี และบริวารจำนวนรวม ๕๕ คน ชั่วระยะเวลาไม่นาน ก็มีพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๖๐ รูป ซึ่งมีจำนวนมากพอ พระองค์จึงทรงให้แยกย้ายกันไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแว่นเคว้นต่าง ๆ ส่วนพระองค์ได้เสด็จไปโปรดชฏิล (นักบวชเกล้าผม) ๓ พี่น้อง พร้อมทั้งบริวารจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ที่ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนชาวเมืองราชคฤห์ ชฎิลทั้งหมดยอมละทิ้งลัทธิความเชื่อเดิมของตน กราบทูลขอบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า พระเจ้าพิมพิสาร ได้ถวายสวน (ไผ่) และสร้างขึ้นเป็นวัดสำหรับเป็นที่ประทับขชองพระพุทธเจ้า ชื่อว่า "พระเวฬุวันมหาวิหาร (หรือวัดเวฬุวัน)" นับเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
  • ณ เมืองราชคฤห์นี้ เด็กหนุ่มสองคนซึ่งเป็นศิษย์ของสัญชัยเวลัฎฐบุตร นักปรัชญาเมธีผู้มีื่ชื่อเสียงคนหนึ่ง ได้มาขอบวชเป็นสาวกและมีชื่อเรียกทางพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมาคือ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ตามลำดับ ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธเจ้าให้เป็นพระอัครสาวก โดยพระสารีบุตร เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา มีความเป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางปัญญา และพระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เป็นเลิศกว่าผู้อื่นทางมีฤทธิ์มาก
  • เมื่อ ประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธได้อย่างมั่นคงแล้ว ต่อมาไม่นานพระพุทธศาสนาก็มีศูนย์กลางแห่งใหม่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้สร้างวัดพระเชตวันขึ้น แล้วกราบทูลอารธนาพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปอยู่ประจำ และนางวิสาขามหาอุบาสิกาเศรษฐินิีคนหนึ่ง ก็มีจิตศรัทธาสร้าง วัดบุพพาราม ถวายด้วย
  • ในระยะแรก ๆ พระพุทธเจ้าจะทรงบวชให้เฉพาะผู้ที่มาทูลขอบวชต่อพระองค์เอง ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ต่อมาเมื่อจำนวนคนมาขอบวชมีมากขึ้น บ้างก็อยู่ห่างไกลไม่สามารถจะเดินทางมารับการบาชจากพระองค์ได้ พระองค์จึงทรงมอบภาระหน้าที่นี้แก่พระสงฆ์ โดยทรงมอบความเป็นใหญ่ให้พระสงฆ์ปกครองกันเอง โดยมีพระธรรมวินัยเป็นหลักในการปกครอง การทำสังฆกรรม (สิ่งที่พระสงฆ์พึงทำ) ทุกอย่าง จะต้องประชุมปรึกษาหารือกัน บางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ บางเรื่องต้องได้รับความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากจึงจะใช้ได้ จะเห็นว่าลักษณะการปกครองและการอยู่รวมกันในแวดวงของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เป็นบรรยากาศแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี แห่งการประกาศศาสนา ได้มีคนยอมรับนับถือพุทธศาสนาจำนวนมากมาย คนเหล่านั้นเรียกว่า พุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิก แบ่งเป็น ๔ เหล่า คือ
๑. ภิกษุ
๒. ภิกษุณี
๓. อุบาสก
๔. อุบาสิกา

บทที่ ๒ - ๒ ตรัสรู้

ตรัสรู้
  • พระสิทธัตถะ ได้เสด็จดำเนินโดยลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้าทรงรับข้าว "มธุปายาส" จากนางสุชาดา ซึ่งนำมาถวายด้วยเข้าใจว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอลูกชายไว้ หลังเสวยข้าวมธุปยาสแล้ว ทรงลอยถาดในแม่น้ำเนรัฐชรา ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ จากนายโสตถิยะมาปูลาดเป็นอาสนะ (ที่นั่ง) ณ โคนต้นโพธิประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฏางค์พิงต้นโพธิ ทรงพิจารณาความเป็นจริงของธรรมชาติทั้งหลายจนเกิดญาณ (การหยั่งรู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง)
  • ความรู้แจ่มแจ้งนั้น ปรากฎขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่าเกิดความสว่างโพลงภายใน ที่ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เป็นความรู้ที่สามารถตอบปัญหาที่ค้างพระทัยมาเป็นเวลา ๖ ปีได้สำเร็จ
  • สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้เรียกว่า "อริยสัจ" (ความจริงอันประเสริฐ) มี ๔ ประการ คือ
๑. ทุกข์ ความทุกข์ หรือปัญหาของชีวิตทั้งหมด โดยย่อคือ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
๒. สมุทัย สาเหตุของทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหาชีวิต ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา
๓. นิโรธ ความดับทุกข์ หรือภาวะหมดปัญหา คือ พระนิพพาน
๔. มรรค ทางดับทุกข์ หรือแนวทางแก้ปัญหาชีวิต คือ
มัชฌิมาปฏิปทาได้มรรค มีองค์ ๘ ซึ่งสรุปลงในไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
  • เมือ่ เกิดความรู้ในอริยสัจนี้ขึ้น ทำให้กิเลส (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) หมดสิ้นไปจากจิตใจพระองค์กลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ (ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ) หรือพระพุทธเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
หลักธรรม
  • คำสอนของพระองค์นั้น จัดเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. พระธรรม ได้แก่ คำสอน ซึ่งขัดเกลาจิตชำระใจของผู้ปฏิบัติให้บริสุทธิ์ มีความสุขความเจริญและคุ้มครองรักษาผู้ประฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
๒. พระวินัย คือ ข้อบัญญัติที่พระองค์ทรงวางไว้เพื่อควบคุมกายวาจาศาสนิก ให้มีระเบียบเรียบร้อย พระธรรมกับพระวินัย รวมกันเรียกว่า "พระพุทธศาสนา"

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ ๒ ประวัติพระพุทธเจ้า , บทที่ ๒-๑ ประสูติ

  • พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เพียบพร้อมด้วยความดีงามหลายประการ เช่น มีความรู้จริง เห็นจริง ซึ่งความทุกข์และแนวทางดับทุกข์ มีความบริสุทธิ์สะอาดทางกาย วาจา และจิตใจ และที่สำคัญคือมีความกรุณาอันยิ่งใหญ่ ช่วยสั่งสอนแนวทางดำเนินชีวิตที่ประเสริฐให้แก่ชาวโลก ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ สร้างความสุขที่แท้จริงแก่ชาวโลก โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก
  • การศึกษาพุทธประวัติ นอกจากจะได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธเจ้า อันเป็นการเพิ่มพูนความเป็นผู้คงแก่เรียนแก่ตนเองแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อให้รู้สึกซาบซื้ง ในคุณงามความดีของพระองค์ แล้วพยายามนำเอามาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของตน
ประสูติ
  • พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ
  • วันประสูติของพระราชกุมารสิทธัตถุตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระราชกุมารได้รับขนานนามว่า "สิทธัตถะ" (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ทรงประสงค์) พราหมณ์ทั้ง ๘ ผู้เชียวชาญในการทำนายลักษณะ ได้พยากรณ์ว่า ถ้าพระราชกุมารสิทธัตถะอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าเสด็จออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
  • หลังประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็สวรรคต พระนางปชาบดีโคตมี พระกนิษฐาของพระสิริมหามายา ได้เป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารสิทธัตถะสืบต่อมา
  • พระราชกุมารสิทธัตถะทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาทุกแขนง เท่าที่จำเป็นสำหรับพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากครูวิสวามิตร เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระนางอมิตา แห่งเทวทหนคร ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า "ราหุล"
  • พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติสืบแทน จึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นสร้างปราสาท ๓ หลัง สำหรับประทับ ๓ ฤดู และทรงอำนายความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็มิได้หมกมุ่นมัวเมา ในความสุขเหล่านั้นเลย
  • เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับ ก็ทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือน สิ่งที่ทรงพบเห็นนี้เรียกว่า "เทวทูต" หมายถึง ทูตสวรรค์ หรือผู้ส่งข่าวสารที่ประเสริฐ
  • ในที่สุดพระองค์ก็ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช (เรียกว่า มหาภิเนษกกรมณ์) ในตอนดึกของคนวันหนึ่งทรงตัดพระเมาลีถือเพศบรรพชิตริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ภายหลังพระราหุลกุมารประสูติเล็กน้อย
  • จากนั้นได้เสด็จไปยังแคว้นมคธ ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร จนสำเร็จฌานสมาบัติขั้นที่ ๘ ซึ่งจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ทั้งสอง ทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงอำลาพระอาจารย์ทั้งสองไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง ที่อุรุเวลาเสนานิคม ในช่วงนี้ ปัญจวัคคีย์ คือพราหมณ์ทั้งห้าได้แก่ ท่านโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ได้ตามมาคอยปรนนิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานกายด้วยวิธีต่าง ๆ ตามที่ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์สมัยนั้นกระทำกันอยู่ ในที่สุดก็ทรงบำเพ็ญหรือกระทำ "ทุกรกิริยา" (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) มี ๓ ขั้นตอนตามลำดับคือ ขั้นที่ ๑ กัดฟัน ขั้นที่ ๒ กลั้นลมหายใจ ขั้นที่ ๓ อดอาหาร
  • พระองค์ทรงทำถึงขั้นนี้แล้วก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงได้คิดว่ามิใช่ทางที่ถูกต้อง จึงทรงเลิกกระทำทุกรกิริยา หันมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม ทำให้ปัญจวัคคีย์เสื่อมศรัทธา พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การเช่นนี้กลับเป็นผลดีแก่พระสิทธัตถะ เพราะได้สร้างบรรยากาศอันเงียบสงัด ปราศจากเสียงรบกวนจากบุคคลอื่น เอื้อต่อการบำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างยิ่ง
  • พระองค์ทรงฝึกฝนอบรมจิตให้สงบ ตามแนวทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลางซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด)

บทที่ ๑ ประวัติพระพุทธศาสนา

ดินแดนที่เกิดพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ณ ดินแดนแถบเชิงเขาหิมาลัย ทางทิศใต้เมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษมาแล้วเรียกว่า "ชมพูทวีป" ทุกวันนี้อาณาบริเวณดังกล่าวแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนเหนือเป็นประเทศเนปาล ภูฐาน และสิขิม ส่วนใต้เป็นประเทศอินเดีย
พื้นเพชาวชมพูทวีป
พื้นเพเดิมของชาวชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล คือ

๑. เชื้อชาติ ชนชาวชมพูทวีป มีอยู่ ๒ เชื้อชาติ คือ
๑.๑ พวกอริยกะ เป็นพวกที่ฉลาด มีการศึกษาดี เป็นผู้บริหารกิจการของประเทศ
๑.๒ พวกมิลักขะ หรือทัสยุ เป็นพวกไม่ค่อยมีการศึกษา ส่วนมากอยู่ในตำบลชายแดน
พระพุทธเจ้าเกิดในเผ่าอริยกะ
๒. การปกครอง ภาคพื้นชมพูทวีปนั้นถูกแบ่งออกเป็นรัฐ แต่ละรัฐมีพระราชาเป็นประมุข บางรัฐพระราชาปกครองโดยเด็ดขาด บางรัฐมีสภาปกครอง
  • การแบ่งวรรณะของคนสมัยนั้น แบ่งเป็น ๔ วรรณะคือ
วรรณะกษัตริย์ ชนชั้นปกครอง
วรรณะพราหมณ์ พวกเจ้าพิธีทางศาสนา
วรรณแพศย์ พวกใช้วิชาชีพ
วรรณะศูทร พวกคนงาน
วรรณะศูทร ได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นมาก
๓. อาชีพ อาชีพส่วนใหญ่คือการทำนา เลี้ยงสัตว์ และค้าขายแพร เพชร พลอย
๔. ลัทธิศาสน ประชาชนทั่วไปนับถือศาสนาพราหมณ์ คือเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และสัตว์ทั้งปวง ลัทธิพิธีกรรมต่าง ๆ มีอยู่มากในสมัยนั้น เช่น การบูชายัญ การทรมานตัว และการสวดอ้อนวอน เป็นต้น

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 221 - 244

221.กำลัง 3 ประการ
1.บัณฑิตชน.....กำลังความดี 2.สามัญชน.......กำลังความรู้ 3.พาลชน...........กำลังกาย
222.สัจจะ 5 สถาน
1.จริงต่อหน้าที่......รักษาหน้าที่ , บำรุงหน้าที่
2.จริงต่อการงาน....ทำให้ดี , ทำเต็มที่ , ทำให้เสร็จ
3.จริงต่อวาจา.........ทำให้ได้ตามที่ลั่นวาจาไว้
4.จริงต่อบุคคล.......กตัญญู , ภักดี , เมตตากรุณา , สัตย์ซื่อ
5.จริงต่อความดี......ทำดี , ปรับปรุงตนเอง , หวังดีในทางที่ถูก , สนับสนุนคนดี
223.ยศ 3.1.อิสริยยศ.....ยิ่งด้วยอิสระ พระราชา(ผู้ใหญ่) ให้
2.บริวารยศ...ยิ่งด้วยพวกพ้อง เพื่อนฝูงให้
3.เกียรติยศ....ยิ่งด้วยชื่อเสียง มหาชนให้
04.ปัคหะ - ยกย่อง , นิคหะ - ติ , ตำหนิ
225.หลักการเสียสละ
1.เสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ 2.เสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต 3.เสียสละทุกอย่างเพื่อรักษาธรรมะ
226.มิตรแท้ 4 จำพวก
1.มิตรมีอุปการะ...ป้องกันเพื่อนและทรัพย์ของเพื่อน , เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งได้ , เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์เกินกว่าที่ออกปาก
2.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์...ขยายความลับตนแก่เพื่อน , ปิดความลับเพื่อน , ไม่ละทิ้งยามวิบัติ แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้
3.มิตรแนะประโยชน์....ห้ามไม่ให้ทำชั่ว , แนะให้ทำดี , ให้ฟังสิ่งไม่เคยฟัง , บอกทางสวรรค์ให้
4.มิตรมีความรักใคร่....สุขฯด้วย , ทุกข์ฯด้วย , โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน , รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
227.ความเสื่อมหรือความเจริญของคน อยู่ภายใต้อิทธิพล 2 สิ่ง ...1.พันธุกรรม 2.สิ่งแวดล้อม
228.โทสะ เพราะ อคติ – ความไม่พอใจ
229.โมหะ เพราะ อวิชชา – ความไม่รู้
230.หลักวินิจฉัยบาป....1.วัตถุ...สัตว์ที่ถูกฆ่า 2.เจตนา...เจตนาของผู้ฆ่า 3.ประโยค...วิธีการฆ่า
231.อนุโลมโจรกรรม
1.สมโจร.......สนับสนุนโจร
2.ปอกลอก....คบเขาเพื่อปอกลอกเอาทรัพย์
3.รับสินบน...รับสินจ้างเพื่อกระทำผิดหน้าที่
232.ฉายาโจรกรรม
1.ผลาญ....ทำลายทรัพย์ของผู้อื่น (ไม่ถือเอาเป็นของตน) 2.หยิบฉวย...ถือวิสาสะเกินขอบเขต
233.อนุโลมโจรกรรม และ ฉายาโจรกรรม....ถ้าเจตนาทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ศีลข้อนี้ขาด , ถ้าเจตนาไม่แน่ชัดศีลด่างพร้อย
234.หญิงต้องห้าม....1.มีสามี 2.มีญาติปกครอง 3.มีจารีตรักษา
235.ชายต้องห้าม......1.ชายอื่นนอกจากสามีตน 2.ชายที่จารีตห้าม
236.ปฏิสวะ....การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น โดยที่ตนยังจะพอทำตามคำรับได้อยู่
237.อนุโลมมุสา...เรื่องที่กล่าวนั้นไม่จริง แต่ผู้ที่กล่าวมิได้มุ่งให้ผู้ฟังหลงเชื่อ เช่น ประชด
238.ปฏิสวะ และ อนุโลมมุสา...ศีลด่างพร้อย
239.เจตนางดเว้นจากการทำผิดศีล เรียกว่า วิรัติ
1.สมาทานวิรัติ...เจตนางดเว้นด้วยการสมาทานศีลไว้ล่วงหน้า
2.สัมปัตตวิรัติ.....เจตนางดเว้นเมื่อเผชิญกับเหตุที่จะทำให้ผิดศีล
3.สมุจเฉทวิรัติ....เจตนางดเว้นเด็ดขาด ของท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว
240.ปาราชิก....ผิดแล้วขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที และบวชไม่ได้อีกตลอดชีวิต
1.เสพเมถุน
2.ลักทรัพย์มีราคา 5 มาสกขึ้นไป (เท่ากับ 1 บาท)
3.เจตนาฆ่ามนุษย์ที่สุดแม้แต่ทารกผู้อยู่ในครรภ์มารดาให้ถึงตาย
4.พูดอวดอ้างอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน หมายถึง อวดว่าตนได้ฌานหรือบรรลุมรรคผลนิพพาน
241.อนิตย 2
1.ภิกษุอยู่กับหญิงตัวต่อตัวในที่ลับหู เช่น อยู่กลางแจ้งแต่ห่างคนอื่นจนสนทนากันไม่มีใครได้ยิน
2.อยู่ในที่ลับตา เช่น อยู่ในห้องสนทนากันได้ยินเสียงแต่มองไม่เห็นด้วยตา
242.อุดมการณ์ที่แท้จริงของพุทธศาสนิก คือ....ถือธรรมะเป็นใหญ่ , บูชาธรรมะ
243.ของสงฆ์ พระสงฆ์จะหยิบยกให้เอกชนได้วิธีเดียว...การแลกเปลี่ยนในทางที่วัดไม่เสียเปรียบ เรียกตามภาษาวินัยว่า “ ผาติกรรม ”
244.มหาวิทยาลัยสงฆ์
1.วัดบวรนิเวศวิหาร สภาการศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย........ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.)
2.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.....พุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.)

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 201 - 220

201.ปาพจน์ 2 ได้แก่.....1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ
202.ไตรปิฎก
1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
203.ธรรมมีอุปการะมาก 2 ...ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
204.ธรรมคุ้มครองโลก 2 ...ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
205.บุคคลหาได้ยาก 2 ...สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
206.บุญกิริยาวัตถุ 3 ....ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย - ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย - รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย - เจริญภาวนา
207.ทาน....การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ 2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
1.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว 2.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
208.อกุศลมูล 3 ....รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
209.ศีล 5 มีชื่อเรียก..... นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
210.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา
211.อบายมุข 6 ....ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
212.วัฒนมุข 6 ....ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค 2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
213.อคติ 4 ...ความลำเอียง
1.ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ - ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
214.พรหมวิหาร 4 ...ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า...อัปปมัญญา 4
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง
215.สังคหวัตถุ 4 ...ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในทุกข์สุข
216.นิวรณ์ 5 ...ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
217.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้
2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้
4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
218.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก
2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
219.วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม
220.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย....ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 181 - 200

181.ปาพจน์ 2 ได้แก่.....1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ
182.ไตรปิฎก
1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
183.ธรรมมีอุปการะมาก 2 ...ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
184.ธรรมคุ้มครองโลก 2 ...ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
185.บุคคลหาได้ยาก 2 ...สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
186.บุญกิริยาวัตถุ 3 ....ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย - ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย - รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย - เจริญภาวนา
187.ทาน....การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ 2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
1.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว 2.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
188.อกุศลมูล 3 ....รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
189.ศีล 5 มีชื่อเรียก..... นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
190.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา
191.อบายมุข 6 ....ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
192.วัฒนมุข 6 ....ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค 2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
193.อคติ 4 ...ความลำเอียง
1.ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ - ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
194.พรหมวิหาร 4 ...ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า...อัปปมัญญา 4
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง
195.สังคหวัตถุ 4 ...ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในทุกข์สุข
196.นิวรณ์ 5 ...ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
197.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้
2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้
4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
198.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก
2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
199.วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม
200.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย....ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 161 - 180

161.ปี 2543 ครม.มีมติถวายพระนามให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” กำหนด วันที่ 19 ต.ค.เป็น “วันเทคโนโลยี”
162.ปี 2545 ครม.น้อมเกล้าฯ ถวายพระนาม “พระบิดาแห่งฝนหลวง”และกำหนดให้วันที่ 14 พ.ย. เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”
163.วันยุทธหัตถีทางจันทรคติตามที่ระบุในพงศาวดาร คือ วันจันทร์ เดือน 2 แรม 2 ค่ำ จ.ศ.954 ตรงกับวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2135
164.พุทธะ แปลว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว , ผู้รู้อริยสัจ 4 อย่างลึกซึ้ง
1.สัพพัญญูพุทธะ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
2.พระปัจเจกพุทธะ คือ ตรัสรู้ด้วยตนเองแต่ไม่สอนผู้อื่น ไม่ตั้งพุทธบริษัท ไม่ตั้งศาสนา
3.พระอนุพุทธะ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า เรียกอีกอย่างว่า “สาวกพุทธะ”
165.บุตร มี 3 ประเภท
1.อภิชาตบุตร – มีศีลและคุณสมบัติอื่นๆ ดีกว่าพ่อแม่ ทำให้วงศ์สกุลมีชื่อเสียง
2.อนุชาตบุตร -- มีศีลและคุณสมบัติอื่นๆ เท่าเทียมกับพ่อแม่
3.อวชาตบุตร – ไม่มีศีล ไม่มีคุณธรรมและมีคุณสมบัติอื่นๆ ด้อยกว่าพ่อแม่ วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
166.หลักสมชีวิตาธรรม 4 – หลักที่แสดงความเหมาะสมของคนที่จะเป็นคู่ครองกัน
1.สมสัทธา – มีศรัทธา หรือความเชื่อเสมอเหมือนกัน
2.สมสีลา – มีศีลมีธรรมเสมอเหมือนกัน
3.สมจาคา – มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเสมอเหมือนกัน
4.สมปัญญา – มีปัญญาหรือวิชาความรู้เสมอเหมือนกัน
167.ฆราวาสธรรม 4 – หลักธรรมสำหรับการครองเรือน
1.สัจจะ – ซื่อสัตย์ จริงใจต่อกัน 2.ทมะ – ข่มใจและควบคุมสติ
3.ขันติ – อดทน อดกลั้นไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก 4.จาคะ – เสียสละไม่เห็นแก่ตัว
168.พ่อแม่ต้องอนุเคราะห์ลูก 5 ประการ.... 1.ห้ามทำชั่ว 2.ให้ดำรงอยู่ในความดี 3.ให้ศึกษาศิลปวิทยา 4.หาคู่ครองที่เหมาะสมให้
5.มอบทรัพย์สมบัติให้ตามโอกาสอันควร
169.สติปัฏฐาน 4 – การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้รู้และเข้าใจตามที่เป็นจริง
1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา กาย
2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนา , เมื่อเจ็บตั้งสติว่าเจ็บหนอ
3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา จิต , ยินดีหนอ ชอบใจหนอ คิดหนอ
4.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรม
170.ผ้าบังสุกุลจีวร คือ.....ผ้าที่ตกอยู่ตามกองขยะที่ใครๆทิ้งแล้วและผ้าห่มศพที่อยู่ตามป่าช้า พระภิกษุสงฆ์นำมาซักเย็บเป็นจีวรนุ่งห่ม
171.สุชีโวภิกขุ หรือ สุชีพ ปุญญานุภาพ “นักปราชญ์ทางปรัชญาศาสนา” เป็นภิกษุไทยรูปแรกที่....แสดงพระธรรมเทศนาเป็นอังกฤษ
172.ปฏิคาหก คือ.... ผู้รับ หรือ ผู้รับของถวาย
173.การให้ทานจะได้ผลมาก ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ
1.วัตถุบริสุทธิ์ – เป็นของที่ได้มาโดยสุจริต 2.เจตนาบริสุทธิ์ - ไม่ใช่เพื่อเอาหน้าหาชื่อเสียง
3.บุคคลบริสุทธิ์ – เลือกให้ผู้รับที่เป็นคนดี มีศีลธรรม ( ทั้งผู้ให้และผู้รับ )
174.วัฒนมุข คือ...ปากทางแห่งความเจริญ มี 6 อย่าง
1.รักษาสุขภาพดี 2.มีระเบียบวินัย 3.ได้คนดีเป็นแบบอย่าง
4.ตั้งใจเรียนให้รู้จริง 5.ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม 6.มีความขยันหมั่นเพียร
175.ธรรมสมาธิ คือ....การประสานแน่วของธรรม คือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิตใจมั่นแน่วลงสู่สมาธิ มี 5 ประการ
1.ปราโมทย์ 2.ปีติ 3.ปัสสัทธิ (สงบเย็น ผ่อนคลาย) 4.สุข 5.สมาธิ
176.การพัฒนาวุฒิภาวะทางธรรมจริยา ตามหลัก อริยวัฒิ 5 คือ..
1.ศรัทธา เชื่ออย่างมีเหตุผล 2.ศีล ความประพฤติและวิถีชีวิตไม่เบียดเบียน 3.สุตะ รู้ข่าวสารข้อมูล ทันต่อสถานการณ์ 4.จาคะ สละให้ 5.ปัญญา ทำการต่าง ๆด้วยปัญญา
177.สรณะ 3 หรือ ไตรสรณะ หมายถึง...พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
178.พุทธคุณ 3 คือ.1.ปัญญาคุณ(พระคุณ คือ พระปัญญา) 2.วิสุทธิคุณ( พระคุณคือ บริสุทธิ์) 3.กรุณาคุณ (พระคุณ คือ พระมหากรุณา)
179.ไตรสิกขา คือ....พุทธโอวาท 3 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
180.สัทธรรม 3 ได้แก่...1.ปริยัติ เล่าเรียน 2.ปฏิบัติ ลงมือทำ 3.ปฏิเวธ ลุล่วงผล บรรลุจุดมุ่งหมาย

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 141 - 160

141.เปรียบเทียบบัว 4 เหล่า กับ คน 4 ประเภท
1.อุคฆฏิตัญญู – ฉลาดมาก บัวพ้นน้ำ
2.วิปจิตัญญู – ฉลาดปานกลาง บัวปริ่มน้ำ จะบานในวันถัดไป
3.เนยยะ – พอแนะนำได้ บัวใต้น้ำ
4.ปทปรมะ – โง่เขลาไม่เข้าใจความหมายธรรมได้ บัวใต้โคลนตรม
142.พุทธบริษัท 4.... ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท – เผยแผ่พระพุทธศาสนา
143.พระเวสสันดร....พระโพธิสัตว์สุดท้าย การบำเพ็ญทานบารมี พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพระสุตตันตปิฎก
144.เทศนากัณฑ์แรก.... ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แสดงแก่ ปัญจวัคคีย์
145.วันมาฆบูชา....วันพระธรรม แสดงโอวาทปาฏิโมกข์ – ทำดี ละเว้นชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แสดงหลักพระพุทธศาสนา
146.ตัณหา 3 ประการ....1.กามตัณหา – ความอยากได้ 2.ภวตัณหา – ความอยากเป็น 3.วิภวตัณหา – ความไม่อยากเป็น
147.ฆราวาสธรรม 4 ธรรมแห่งการครองเรือน...1.สัจจะ – ความสัตย์ 2.ทมะ – ความฝึก,ความข่ม 3.ขันติ – อดทน 4.จาคะ – เสียสละ
148.ธรรมช่วยให้เกิดความสุขในสังคม.... จาคะ – ความเสียสละ , มีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อกัน ได้แก่
1. เสียสละวัตถุสิ่งของ 2. เสียสละอารมณ์กิเลส ที่เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง
149.วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8......ถวายผ้าอาบน้ำฝนและเทียนพรรษา ก่อนเข้าพรรษา 1 เดือน ส่วนใหญ่ถวายก่อน 1 วัน
150.วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11..... วันมหาปวารณา – ประเพณีตักบาตรเทโว , เป็นวันที่ เทวดา มนุษย์ และสัตว์ที่เกิดในนรก
มองเห็นกันและกัน , หลักธรรม – รอบรู้ เสียสละ สามัคคี
151.สันโดษ -- สังคมไม่แก่งแย่งชิงดีกัน มีแต่สามัคคีกัน
1.ยถาสันโดษ – ยินดีตามที่ได้ 2.ยถาพลสันโดษ -- ยินดีตามกำลังที่มีอยู่ 3.ยถาสารุปปสันโดษ – ยินดีตามสมควร
152.ทอดกฐิน..... แรม 1 ค่ำ เดือน 11 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 รวม 1 เดือน , กฐิน = กรอบไม้ , สะดึงสำหรับขึงเย็บจีวร
153.กรานกฐิน.....สังฆกรรมที่สงฆ์ตัดเย็บจีวรแล้วมอบให้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งครองจีวร , ทอดกฐินต้องมีพระสงฆ์อย่างน้อย 5 รูป
154.จัดกฐินตามประเภทวัด....1.กฐินหลวง – ในหลวง,พระบรมวงศ์ฯทอด ณ พระอารามหลวง
2.กฐินพระราชทาน – โปรดเกล้าฯให้หน่วยงาน องค์กร ทางการ ทอด พระอารามหลวง
3.กฐินต้น – ในหลวงทอดส่วนพระองค์ที่วัดราษฎร์
4.กฐินสามัคคี – ทั่วไป
155.พระบรมบรรพต “ภูเขาทอง”วัดสระเกศ สร้างเสร็จสมัย ร.5 ...เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์( เกี่ยว อุปเสโณ ) - เป็นเจ้าอาวาส
156.กีฬา ทบ.ครั้งที่ 57 ปี2550 .... ณ กช. ค่ายบุรฉัตร จ.ราชบุรี ชิงชัย 19 ชนิดกีฬา นักกีฬา 8 กลุ่ม , ครั้ง 58 ปี 2551 จัดที่ ทภ.2
157.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน ปี 50 – 54 เป็นกรอบการปฏิบัติยุทธศาสตร์ 4 ประการ
1.ยุทธศาสาตร์พัฒนาศักยภาพคน ชุมชน และพื้นที่ 2.ยุทธศาสาตร์การผนึกกำลังเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดน
3.ยุทธศาสาตร์เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน 4.ยุทธศาสาตร์บริหารจัดการ
158.อนุสาวรีย์วีรกรรมทหารกล้า อยู่ที่.... ร.31 พัน .3 รอ.
159.พระเบญจภาคี.... 1.พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร 2.พระซุ้มกอ จ. กำแพงเพชร 3.พระนางพญา จ.พิษณุโลก
4.พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี 5.พระรอดกรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
160.โครงการจัดสร้างพระราชอาสน์ ของ ทบ. .... พระมหาพิชัยมงกุฎทองคำ มีน้ำหนัก 60 บาท

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 121 - 140

121.สมัย ร. 8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
122.สังคายนา หมายถึง การรวบรวม การตรวจสอบ ชำระพระธรรมและพระวินัย โดยการสังคายนาครั้งที่ 2 มีพระเจ้ากาลาโศกถวาย
การอุปถัมภ์ สาเหตุ เพราะภิกษุปฏิบัติผิดวินัย เช่น ฉันอาหารเลยเวลาเที่ยง เป็นต้น การสังคายนาครั้งนี้เป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยก
เป็น 2 นิกาย....1.เถรวาท 2. มหาสังฆิกะ
123.การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย
ยุคที่ 1.เถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช มาทางสุวรรณภูมิ ขุดพบที่ จ.นครปฐม คือ ศิลารูปธรรมจักรกับกวางหมอบ
ยุคที่ 2.ยุคมหายาน พ.ศ.1300 เจดีย์พระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี , พระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ยุคที่ 3.ยุคเถรวาทแบบพุกาม พ.ศ.1600 ตอนเหนือของไทย ล้านนา ลงมาถึง ลพบุรีและทวาราวดี
ยุคที่ 4.เถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1698 ตั้งมั่นอยู่เมืองนครศรีธรรมราช
สมัยสุโขทัย พ.ศ.1800-1920 พ่อขุนรามคำแหงอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองนครศรีธรรมราชไปยังสุโขทัย
-เจดีย์ช้างล้อม ( ทรงระฆัง ) วัดช้างล้อม อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ( ทรงบัวตูม ) วัดเจดีย์เจ็ดแก้ว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
-สมัยสุโขทัยรุ่งเรืองมาก พระยาลิไททรงพระราชนิพนธ์ “เตภูมิถกา” หรือ “ไตรภูมิพระร่วง” เกี่ยวกับความคิดความ
เชื่อและวิ๔ปฏิบัติของประชาชน ในเรื่องนรก สวรรค์ และการทำดีทำชั่ว
สมัยล้านนา พ.ศ.1913 พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์
สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ส่งพระสงฆ์ไปสืบพระพุทธศาสนาแบบสยามวงศ์(อุบาลีวงศ์) ในศรีลังกา
สมัยธนบุรี พ.ศ.2310-2325 พระเจ้าตากสินโปรดฯให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากที่ต่างๆมาเก็บไว้
สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2523-ปัจจุบัน
-ร.1 โปรดฯสร้างหอมณเทียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง
-ร.2 อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา และส่งพระสงฆ์ 7 รูปไปสืบพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา
-ร.3 โปรดฯรวบรวมพระไตรปิฎกบับภาษาต่างๆ ,ตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายโดยพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
-ร.4 ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญมากขึ้น


-ร.5 จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทยครั้งแรก 1,000 ชุด ,รับพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่บรมบรรพต
(ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ,สถาปนามหามกุฎราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
-ร.6 พระราชนิพนธ์หนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร , เทศนาเสือป่า ฯลฯ
-ร.7 พิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทย 1,500 ชุด , ประกวดการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก
-ร.8 เริ่มการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปล 2 ประเภท
1.แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
2.แปลโดยสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง
-ร.9 ทรงผนวช พ.ศ.2499 , สร้างพุทธมณฑลเป็นพุทธบูชา และเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ(พ.ศ.2500) ,วิทยาลัยสงฆ์
พัฒนาเป็นขั้นอุดมศึกษา
124.ความสำคัญของพุทธศาสนา....1.เป็นศาสนาประจำชาติ 2.เป็นหลักของการดำเนินชีวิต 3.เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมไทย
125.วันมาฆบูชา.... วันพระธรรม ,วันจาตุรงคสันนิบาต , แสดงโอวาทปาติโมกข์ – หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอน
คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ พร้อมสอนชาวพุทธ “ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่
ความดีมีคุณประโยชน์ ไม่ทำลายผู้อื่น
126.วันวิสาขบูชา....วันพระพุทธ โดยมีเหตุการณ์ ประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน เนปาล , ตรัสรู้อริยสัจ คือ ความจริง 4 ประการ ณ พุทธคยา , ปรินิพพาน ถือเป็นการเตือนจิตสำนึกในวิถีชีวิตแห่งความไม่ประมาท , เป็นวันสากลของ UN เพราะให้กำเนิดอารยธรรมมนุษย์ ที่ยิ่งใหญ่
127.วันอัฐมีนบูชา....แรม 8 ค่ำ เดือน 6 หลังวันวิสาขบูชา 8 วัน, ระลึกถึงงานถวายพระเพลิงพระบรมสรีระของพระพุทธเจ้า , วันระลึก ถึงเหตุการณ์ที่ปารถนาจะจัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกด้วย
128.วันอาสาฬหบูชา.....วันพระสงฆ์ , แสดงธรรมครั้งแรกและกัณฑ์แรก “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” สูตรการหมุนของพระธรรมจักร
( ตราศาสนาพุทธ ) ,พระสงฆ์เกิดขึ้นครั้งแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังธรรมแล้วเกิดดวงตราเห็นธรรมและขอบวชในพุทธ
ศาสนา , มีพระรัตนตรัยครบถ้วนบริบูรณ์เป็นครั้งแรก
129.อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ....1.ทุกข์ – ชีวิตและโลกนี้มีปัญหา 2.สมุทัย – ปัญหามีสาเหตุและมิได้เกิดขึ้น
ลอยๆ 3.นิโรธ – มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 4.มรรค - การแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียร
130.คิหิสุข คือ ความสุขของคฤหัสถ์ มี 4 ประการ.....1.อัตถิสุข คือ สุขจากการมีทรัพย์ 2.โภคสุข คือ สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์
3.อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ 4.อนวัชชสุข คือ สุขจากความประพฤติไม่มีโทษ – สำคัญที่สุด
131.ไตรสิกขา คือ....หลักการพัฒนาชีวิตให้ประสบผลสำเร็จเป็นคนสมบูรณ์ตามแนวพุทธ – ศีล สมาธิ ปัญญา
132.กรรมฐาน คือ....ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ – วิธีฝึกอบรมจิต 2 ประเภท
1.สมถกรรมฐาน – วิธีฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ เป็นอุบายสงบใจ
2.วิปัสสนากรรมฐาน – วิธีฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้ง เป็นอุบายเรื่องปัญญา
133.ปธาน คือ ความเพียร
1.สังวรปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น เพียรระวัง เพียรโละ
2.ปหานปธาน – เพียรระวังบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรระวัง เพียรโละ
3.ภาวนาปธาน – เพียรเจริญ / สร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
4.อนุรักขนาปธาน – เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดแล้วไม่ให้เสื่อมไปและให้ไพบูลย์ยิ่งขึ้น เพียรให้เกิด เพียรรักษา
134.โกศล 3 คือ ปัญญาความรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ความฉลาด ความเชี่ยวชาญ ฉลาดรอบรู้ทั้งเหตุและผลของสิ่งต่างๆ
1.อายโกศล – ความฉลาดในความเจริญ รู้จักเหตุและประโยชน์ของความเจริญ
2.อปายโกศล – ความฉลาดในความเสื่อม รู้จักเหตุและโทษแห่งความเสื่อม
3.อุปายโกศล – ความฉลาดในอุบาย รู้จักวิธีการละความเสื่อมและสร้างเหตุแห่งความเจริญทำให้ความเจริญสำเร็จ
135.หลักคำสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล เช่น....1.หลักกฎแห่งกรรม 2.หลักแห่งเหตุและปัจจัยที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้น
( อิทัปปัจจยตา) 3.หลักอริยสัจ ทรงสอนมากเป็นพิเศษ 4.หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน 5.หลักบูรณาการ เป็นต้น
136.ทางสายกลาง ทางที่ยึดความพอดี สมดุล หลักพุทธศาสนาที่ยึดทางสายกลาง เรียกว่า....มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
137.มรรค 8 – มรรคมีอย่างเดียว แต่มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่
1.สัมมาทิฏฐิ – เห็นชอบ , เห็นว่าทำดีได้ดี พ่อแม่มีคุณ ร่างกายเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ยึดมาเป็นของตนไม่ได้ ฯลฯ
2.สัมมาสังกัปปะ – ดำริชอบ , ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น หลุดพ้นสิ่งยั่วยวนใจ(กาม) ไม่พยาบาทและเบียดเบียนผู้อื่น
3.สัมมาวาจา – เจรจาชอบ , เว้นพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่ 1.เท็จ 2.ส่อเสียด 3.คำหยาบ 4.เพ้อเจ้อไร้สาระ
4.สัมมากัมมันตะ – ทำงานชอบ , เว้นการทำชั่วทางกาย 3 ประการ ได้แก่ 1.ฆ่าสัตว์ 2.ลักทรัพย์ 3.ผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ , เว้นการเลี้ยงชีพในทางผิด
6.สัมมาวายามะ – เพียรพยายามชอบ , พยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง
7.สัมมาสติ – ระลึกชอบ , พิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึก ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง
8.สัมมาสมาธิ – ตั้งใจมั่นชอบ , ตั้งจิตแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยชอบ
138.พละ 5 ( ธรรมอันเป็นกำลัง )....1.ศรัทธา 2.วิริยะ 3.สติ 4.สมาธิ 5.ปัญญา
139.อริยทรัพย์ 7 ( ทรัพย์ภายในอันประเสริฐ )....1.ศรัทธา 2.ศีล 3.หิริ 4.โอตัปปะ 5.พหุสัจจะ 6.จาคะ 7.ปัญญา
140.ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา 4 ประการ
1.ตถาคตโพธิสัทธา – เชื่อมั่นในการเข้าถึงอิสรภาพที่แท้จริงของมนุษย์
2.กัมมสัทธา – เชื่อมั่นในการกระทำ
3.วิปากสัทธา – เชื่อมั่นในผลของการกระทำ
4.กัมมัสสกตาสัทธา – เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 101 - 120

101.ธรรมะที่ใช้ในการปรับแก้พฤติกรรมมนุษย์มิให้ประพฤติผิดเบญจศีล ข้อสุดท้าย คือ.... สติ
102.หลักการอยู่ร่วมกัน ( สาราณิยธรรม 6 ) ซึ่งทำให้สังคมเกิดความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ( เอกิภาวะ ) ใช้หลักคุณธรรมอะไรเป็นพื้น
ฐานในการทำ การพูด และการคิด....ปรารถนาดีต่อกัน
103.หลักธรรมเพื่อให้บุคคลพึ่งตนเองได้ ( อัตตา หิ อัตตะ โน นาโถ ) ถ้าถือตามหลักมงคลชีวิตแล้ว ต้องปฏิบัติตามข้อใดก่อน
....การศึกษาเล่าเรียน
104.ประเทศไทยของเราในยามที่เหตุการณ์บ้านเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติทุกครั้งที่ผ่านมา สถาบันมีบทบาทสำคัญมากที่สุด....พระมหากษัตริย์
105.ธรรมะข้อใดที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตคู่ คือ สามีภรรยา.....สมชีวิตาธรรม 4
106.การกระทำที่ไม่ถือว่าผิดศีล ข้อ 4 ....พูดโดยไม่เจตนาจะพูดให้ผิด
107.ลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาของคนไทยต่อไปนี้ ข้อใดที่ไม่ควรมีในสังคมทหาร....หย่อนระเบียบวินัย
108.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดสังฆรัตนะ.....วันอาสาฬหบูชา – วันพระสงฆ์
109. “เลือกที่รัก ผลักที่ชัง” ตรงกับอคติ 4 ข้อใด..... ฉันทาคติ โทสาคติ
110.ธรรมะที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน.... ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา , เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา , สัจจะ ทมะ ขัติ จาคะ , อัตถิสุข ปริโภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข
111.ความสันโดษ ( สันตุฏฐี ) หมายถึง.... ความพอเพียง พอดี ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐ
112.สุจริต แปลว่า ความประพฤติดี มี 3 อย่าง คือ ความประพฤติทางกาย ทางวาจา และทางใจอยากทราบว่าข้อใดเป็นความประพฤติ
ดีทางใจ ( มโนสุจริต ).... ไม่โลภ
113.สาธารณโภคี หมายถึง.... การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้มาโดยชอบธรรม
114.คณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันเป็นนิกายเถรวาท ต่อมาแบ่งเป็น 2 นิกาย คือ มหานิกาย กับ ธรรมยุติกนิกาย โดยธรรมยุติกนิกาย เกิดขึ้น
ในรัชสมัยใดของกรุงรัตนโกสินทร์.....รัชกาลที่ 3 - โดยภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ( ร.4 )
115.หลักการที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา 3 ประการ คือ 1.เว้นชั่ว 2.ทำดี 3.ฝึกจิตให้ผ่องใส สัมพันธ์กับ.....วันมาฆบูชา - โอวาทปาฏิโมกข์
116.จ.ส.อ.ดำฯ สามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรได้สำเร็จแสดงว่ามีธรรมะข้อใดมากที่สุด..... พาหุสัจจะ – ศึกษาเล่า
เรียนมาก เข้าใจลึกซึ้ง : กัลยาณมิตตตา – คบคนดี , โสวจัสสตา – ว่าง่าย สอนง่าย , กิงกรณีเยสุ ทักขตา – ใส่ใจหมู่คณะ
117.เอกลักษณ์ที่เด่นชัดที่สุดของคนไทย คือ.....รักอิสระ
118.วัฒนธรรมประเพณีอันดีของชาติประการหนึ่งคือ ความกตัญญูกตเวที ซึ่งจัดอยู่ในธรรมะประเภท....ธรรมะมีอุปการะมาก
119.พระพุทธศาสนา “เถรวาทแบบลังกาวงศ์” มีพระสงฆ์นำเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยที่...นครศรีธรรมราช
120.ลำดับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา....วันมาฆบูชา – วันวิสาขบูชา-- วันอัฏฐมีนบูชา – วันอาสาฬหบูชา

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 81 - 100

81.คุณสมบัติของมิตรที่ว่า “เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ ให้เกินกว่าที่ออกปาก” คือ มิตรประเภท.... มิตรมีอุปการะ
82.ในกรจัดสถานที่ทำบุญต้องมีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ควรมีพานพุ่มจำนวน 3 พาน คือ 1.พุ่มทอง 2.พุ่มเงิน 3.พุ่มเพชร ถามว่า
พุ่มเพชรใช้บูชาผู้ใด ..........................................................................................................................................................................
83.อัตถจริยา ในสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์กับธรรมข้อใดในนาถกรณธรรม...กิงกรณีเอสุ ทักขตา
84.ความเป็นผู้มีน้ำใจ จัดเป็นธรรมะข้อใด ในสังคหวัตถุธรรม 4 ประการ.... ทาน – การให้ เสียสละ แบ่งปัน
85.สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ได้แก่....1.อัตถิสุข 2.ปริโภคสุข 3.อนณสุข 4.อนวัชชสุข
86.หลักการสงเคราะห์( สังคหวัตถุ 4 ) ได้แก่.....1.ทาน – การให้ 2.ปิยวาจา – พูดคำสุภาพน่ารัก 3.อัตถจริยา – ทำตนให้เป็น
ประโยชน์ ตามกำลังสติปัญญญาความรู้ความสามารถ ทรัพย์และเวลา 4.สมานัตตตา – วางตนเสมอตนเสมอปลาย
87.เบญจศีล ข้อใดไม่มีในกุศลกรรมบท 10....ข้อ 5 , กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กาย 3 ,วจี 4 , มโน 3
88.จ.ส.อ.ดำฯ ป่วยเป็นโรคเอดส์ เกิดความเข้าใจผิดกับภรรยาถึงขั้นหย่าร้าง เพราะประพฤติผิดเบญจศีลข้อใด....ต้องรู้สาเหตุก่อน
89.ศีล หมายถึง....การควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในสภาวะปกติ
90.การแยกนิกายของคณะสงฆ์ไทย เป็นเพราะปัญหาเรื่องใด.... การผิดวินัยสงฆ์
91.มโนสุจริต ตรงกับข้อใด....ไม่พยาบาทมุ่งร้ายต่อใคร
92.ในการรักษาศีลข้อที่สำคัญที่สุด คือ....วิรัติ – การตั้งเจตนา
93.การรับสินบน หากผู้รับมีเจตนาร่วมกับผู้ให้ในการทำลายกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งเป็นการร่วมทำโจรกรรม อยากทราบว่า ศีลข้อ 2
ขาดหรือไม่ ....ขาดแน่นอนเพราะมีเจตนาร่วม , ถ้าไม่เจตนา - ศีลด่างพร้อย
อนุโลมโจรกรรม - ปลอกลอก สมโจร รับสินบน ฉายาโจรกรรม - ผลาญ หยิบฉวย
94.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรับเอาพระพุทธศาสนานิกายใด ไปเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย และเป็นศาสนาประจำชาติไทยจนถึง
ปัจจุบันนี้....เถรวาท แบบลังกาวงศ์
95.ธรรมะที่ส่งเสริมความสามัคคีที่สำคัญมี 2 ข้อ ซึ่งหากขาดธรรมะนี้ ก็จะมีแต่ความแตกแยก ธรรมะที่ว่านี้คือ.....ขันติ จาคะ
96.สุภาพสตรีที่ยึดถือคำพังเพยที่ว่า “อย่าชิงสุกก่อนห่าม” แสดงว่าเธอตั้งใจปฏิบัติจะปฏิบัติตามเบญจธรรมข้อใด.....ข้อ 3
97.เยาวชนวัยรุ่นในยุคนี้ หันไปนิยมแบบฝรั่ง เช่น ใส่เสื้อสายเดี่ยว เป็นต้น นั้นเป็นเพราะขาดวัฒนธรรม....วัตถุธรรม
98.ด้ายสายสิญจน์....เริ่มวงด้ายสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชา วงรอบอาคารบ้านเรือนโดยวงเวียนขวา เหมือนเลขหนึ่งไทย แล้วมาวนสิ้นสุด ที่ใต้ฐานพระพุทธรูป
99.จ.ส.อ.ดำฯ เป็นสุภาพชนในทุกสถานที่ รักพวกพ้องและผูกมิตรไมตรีกับคนต่างพวก แสดงว่าเขามีวัฒนธรรม.....สหธรรม
100.เบญจางคประดิษฐ์ มีจังหวะการปฏิบัติ....1อัญชลี 2.วันทา 3.อภิวาท

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 61 - 80

61.ธรรมมีอุปการะมาก....สติ สัมปชัญญะ – ระลึกได้ รู้ตัว
62.พระจริยาวัตร....1.มีเมตตาอย่างสูงยิ่ง 2.มีความพรากเพียรสูงยิ่ง 3.ใฝ่รู้และแก้ปัญหาด้วยปัญญา 4.เป็นนักเสียสละ
63.พุทธกิจ.... เช้าบิณฑบาต เย็นประกาศสัจธรรม ค่ำแนะนำสาวก คืนถกปัญหาเทวดา ใกล้รุ่งตรวจตราสัตว์โลก
64.บุคคลผู้หาได้ยาก....บุพการี – ผู้ทำอุปการคุณมาก่อน , กตัญญูกตเวที – ผู้อุปการคุณแล้วตอบแทน
65.ธรรมะทำให้งาม....ขันติ – ความอดทน , โสรัจจะ – ความสงบเสงี่ยม
66.สัญลักษณ์ในการบูชา
1.ธูป บูชาพระคุณพระพุทธเจ้า 3 ได้แก่ 1.พระปัญญาคุณ 2.พระวิสุทธิคุณ 3.พระมหากรุณาธิคุณ
2.เทียน บูชาพระธรรมวินัย หรือ โลกิยธรรม โลกุตลธรรม
3. ดอกไม้ บูชาพระสงฆ์
67.การจุดธูป...1 ดอก - ไหว้ศพ
3 ดอก - บูชาพุทธคุณ 3 ประการ
5 ดอก - บูชาพระรัตนตรัย 3 บิดามารดา 1 อาจารย์ 1 หรือ บูชาพระ พุทธเจ้า 5 พระองค์ ได้แก่ กกสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ
โคตมะ ศรีอริยะเมตตรัย
7 ดอก - บูชาโพชฌงค์ 7 หรือ วันทั้ง 7,
9 ดอก - บูชาพุทธคุณ 9 หรือ บูชาพระภูมิเจ้าที่ 9 องค์
68.ตั้งโต๊ะหมู่บูชา นิยมพระพุทธรูป....ปางสมาธิ – ปางมาวิชัย ตามลำดับ
69.การกรวดน้ำ...พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคนแรกที่ทำ
70.การเรียกเณร และพระสงฆ์....เณร – รูป , พระ – องค์ , รูป
71.เกี่ยวกับสถาบันชาติ ทหารมีบทปลงใจว่า....ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้ จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอา
เนื้อ เอาชีวิต และความลำบากอยากเข็นเข้าแลกเอาไว้ เราต้องรักษาชาติ เราต้องบำรุงชาติ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ
72.สถาบันชาติ ได้แก่....1.ดินแดน 2.ทรัพยากรธรรมชาติ 3.ประชาชน
73.หลักวินิจฉัยบาปเมื่อกระทำผิดศีลว่าจะมากหรือน้อยนั้น วิธีการฆ่า ถ้าฆ่าโดยวิธีทรมานมากก็บาปมาก ตรงกับ....ประโยค
74.ผู้มีอิทธิพลที่ชอบเบียดบังหรือปทุษร้ายต่อทรัพย์สินของผู้อ่อนแอกว่า เขาขาดเบญจธรรมข้อใดมากที่สุด....สัมมาชีพ
75.หากเปรียบศาสนพิธีเท่ากับต้นไม้ ควรเป็นส่วนใดของต้นไม้....เปลือกไม้ – ช่วยรักษาแก่น ซึ่งคือหลักธรรมคำสอน
76.เมืองไทยเราได้ชื่อว่า “สยามเมืองยิ้ม” เพราะคนไทยยิ้มแย้มแจ่มใส คำว่า “ยิ้มแย้มแจ่มใส” บ่งบอกถึงคุณลักษณะของคนไทย
ข้อใด.... นิสัย
77.ที่บูชาประจำกองร้อย ทบ.กำหนดให้ใช้พระพุทธรูปใดประดิษฐานที่โต๊ะหมู่....พระพุทธสิงห์ชัยมงคล
78.พระอยู่ในที่ใดกับผู้หญิงสองต่อสองไม่ได้....ในที่ลับหูลับตา ต้องไม่เข้าไปหาในกุฏิ
79.พระพุทธสิงห์ชัยมงคล ประจำกองร้อย ทบ. เป็นพระพุทธรูปปาง....มารวิชัย สมัยเชียงแสน
80.พื้นของคนคือศีล 5 การดูแลพื้นคนก็ดูที่รอยร้าว 5 อย่าง คือ.... 1.โหดร้าย 2.มือไว 3.ใจเร็ว 4.ขี้ปด 5.หมดสติ

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 41 - 60

41.หลักวินิจฉัยความหนักเบาของบาปกรรม มี 3 ประการ คือ...... 1.วัตถุ 2.เจตนา 3.ประโยค
1.วัตถุ – เรื่อง,สิ่ง,ที่ดิน,ข้อความ,ที่ตั้งของเรื่อง หมายถึง บุคคลผู้เป็นที่ตั้งแห่งการทำกรรมของสงฆ์
2.เจตนา – ความตั้งใจ , ความมุ่งใจหมายกระทำ
3.ประโยค – การประกอบ , การกระทำ , ความพยายาม
42.เจ้าอธิการ คือ...เจ้าอาวาส
43.พระครูพิศาลวรกิจ พระพิพิธธรรมสุนทร พระราชปริยัติวิธาน พระเทพสุธี รูปที่สมณศักดิ์สูงกว่ารูปอื่นคือ....พระเทพสุธี
44.ผู้พูดคำหยาบเป็นผู้สร้างเสนียดขึ้นในตัวเองจนสิ้นเสน่ห์ถ้าเราอยากมีเสน่ห์ควรประพฤติ....ปิยวาจา
45.เบญจศีลที่รับประกันว่า สติสัมปชัญญะ ของคนจะไม่ถูกทำลาย หรือเสียสติ คือ....สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน
46.ในชีวิตผู้ครองเรือน ความสุขที่สำคัญที่สุด คือ....อณวัชชสุข - สุขจากการทำงานปราศจากโทษ
47.หลักคำสอนเรื่องการหาทรัพย์ว่า “ อย่านอนตื่นสาย อย่าหน่ายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา คำว่าอย่านอนตื่นสาย ”
หมายถึง....อุฎฐานสัมปทา - ขยันหา
48.หลักธรรมที่ทำให้คู่ครองอยู่กันได้ตลอดไป ต้องมีสิ่งสมกัน 4 ข้อ คือ...1.สมศรัทธา 2.สมสีลา 3.สมจาคา 4.สมปัญญา
49.กรรมการมหาเถรสมาคม คือ สมเด็จพระสังฆราช เป็น ปธ. , พระราชาคณะ 8 รูป ,พระราชคณะแต่งตั้ง 12 รูป ,อธิบดีกรมศาสนา-เลขา
50.เจ้าคณะใหญ่หนกลางมีหน้าที่ คือ....ดูแลพระสงฆ์ในเขตภาคกลาง
51.ก่อนปรินิพพานทรงแสดงปัจฉิมโอวาท เรียกว่า อัปปมาทธรรม....ให้ยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น
52.พระพุทธพจน์ที่บันทึกไว้ในพระอภิธรรมปิฎก มี....42,000 พระธรรมขันธ์
53.อาหารที่ปรุงจากเนื้อ 10 ชนิด ที่มีพุทธบัญญัติ ห้ามไม่ให้ฉัน...1.มนุษย์ 2.ม้า 3.หมา 4.หมี 5.ราชสีห์ 6.ช้าง
7.งู 8.เสือโคร่ง 9.เสือดาว 10.เสือเหลือง
54. “การง่ายไม่ดีกว่าการยาก ความลำบากดีกว่าสุขสบาย ความชั่วทั้งหลายเกิดจากตามใจตัวเอง ความดีทั่วไปต้องฝืนใจทำ”คำสอนนี้
มุ่งให้ปลูกฝังคุณธรรมใด....ทมะ – ความฝึก ความหยุด ความข่ม
55.“อยู่เรือนพังยังดีไม่มีทุกข์ ดีกว่าคุกหลายเท่าไม่เศร้าหมอง” แสดงว่าควรปฏิบัติธรรมหมวดใด....ฆราวาสธรรม
56.พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถามว่า สมุทัย คือ....ตัณหา ความทะยานอยาก เป็นเหตุแห่งทุกข์
57.ไม่เย่อหยิ่งจองหอง รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น คือ....สหธรรม
58.อนวัชชสุข คือ....สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
59.สิทธัตถะ แปลว่า... ผู้สำเร็จในสิ่งอันพึงประสงค์ทุกประการ
60.พุทธจริยา....1.โลกัตถจริยา – เพื่อชาวโลก 2.ญาตัตถจริยา – เพื่อพระยูรญาติ 3.พุทธัตถจริยา – ฐานะเป็นพระพุทธเจ้า

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 21 - 40

21.คนว่ายาก ดื้อรั้น กระด้าง ไม่ยอมฟังเหตุผลใดๆ จากผู้ใดทั้งสิ้น ควรแก้ไขด้วยการปฏิบัติธรรม...
โสวจัสสตา – ความเป็นผู้ว่าง่าย
22.ใบพ้อพันห่อ หุ้มกฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม
โคลงบทนี้สอดคล้องคุณธรรมใด ( กัลยาณมิตตตา – มีคนดีเป็นเพื่อน อยู่ในหมู่นักปราชญ์อาจฉลาดด้วย )
23.วัดที่จะรับกฐินจะต้องมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในวัดนั้นตลอด 3 เดือน โดยไม่ขาดพรรษาอย่างน้อย....จำนวน 5 รูป
24.สิ่งของที่ขาดไม่ได้ในการทอดผ้าป่า คือ.... ผ้าบังสุกุล – ผ้าเปื้อนฝุ่นไม่มีเจ้าของหวงแหน
25. “ โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ” นี้เป็นคำกล่าวของ พระรัฐปาลเถระ การที่จะแก้ปัญหาให้คนรู้จักอิ่ม รู้จักพอนั้นควรแก้ด้วยนาถกรณธรรมข้อใด....สันตุฏฐี – สันโดษ , มีความพอใจตามกำลังความสามารถของตน ไม่ละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ฟุ่มเฟือย ได้อย่างไรใช้อย่างนั้น
26.สิ่งต่างๆที่สมาชิกในสังคมประดิษฐ์ขึ้น เป็น....สหธรรม
27.ในฐานะเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อเห็นชายคนหนึ่งเป็นคนยากจนมาก อยู่แบบอดๆอยากๆ ควรปฏิบัติต่อชายผู้นั้นอย่างไร....แนะนำ
หลักธรรมสำหรับสร้างฐานะให้
28.พุทธศาสนาแพร่เข้ามาในแผ่นดินไทย ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 300 คนไทยนับถือพุทธศาสนา.. ประมาณก่อน พ.ศ.300 นิกายเถรวาท -
หินยาน , พ.ศ.1300 นิกายมหายาน , พ.ศ.1600 นิกายเถรวาทแบบพุกาม , นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ พ.ศ.1800 จนถึงปัจจุบัน
29.เอกลักษณ์ของชาติไทย คือ...สิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทย ได้แก่ ภาษาไทย การแต่งกาย ความเคารพ สถาปัตยกรรม ประเพณี ฯลฯ
30.พระสงฆ์ หมายถึง....พระตั้งแต่ 2 รูปขึ้นไป , ภิกษุ ภิกษุณี
31.จัดหมวดหมู่ธรรม
1.อิทธิบาท 4 คือ เครื่องให้ถึงความสำเร็จ หนทางแห่งความสำเร็จ ธรรมะทำให้ประสบผลสำเร็จ .....
1.ฉันทะ – ความชอบ 2.วิริยะ – ความเพียรพยายาม 3.จิตตะ – ใส่ใจ 4.วิมังสา – พิจารณาใคร่ครวญ
2.พรหมวิหาร 4 คือธรรมะสำหรับผู้ปกครองคน ( พ่อ – แม่ ) ...1.เมตตา - ปารถนาให้ผู้อื่นมีสุข 2.กรุณา - สงสารผู้อื่นเมื่อตก
ทุกข์ 3.มุทิตา - ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี 4.อุเบกขา – ความเป็นกลาง
3.อคติ 4 ความลำเอียง ......1.ฉันทาคติ - เพราะรัก 2.โทสาคติ - เพราะชัง 3.โมหาคติ - เพราะเขลา
4.ยาคติ –เพราะกลัว
4.สังคหวัตถุ 4 ธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจ....1.ทาน - การแบ่งปันสิ่งของ 2.ปิยวาจา - วาจาไพเราะน่ารัก
3.อัตถจริยา - บำเพ็ญประโยชน์ 4.สมานัตตตา – วางตนให้เหมาะสม
32.ความหมายที่ควรรู้
ศรัทธา – เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ขันติ – อดทน ถอนตัวจากความชั่ว
ศีล – รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย อุเบกขา – ความเที่ยงธรรม
สุตะ – ตั้งใจสดับฟัง หมั่นเล่าเรียนศึกษา อัตถจริยา -- บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
จาคะ – สละให้ปันสิ่งของๆตนแก่คนที่ควรให้(บริจาค) สัจจะ – ความซื่อสัตย์ต่อกัน
33.รากเหง้าของความพยาบาท คือ...อวิชชา – ความไม่รู้ : รติ – ความชอบใจ, อรติ – ความไม่พอใจ, วิชชา – ความรู้
34.วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อเยาวชนไทยมากที่สุด คือ.... ด้านวัตถุ
35.หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มี 84,000 พระธรรมขันธ์ มีทั้งหมด...45 เล่ม
36.ประเพณีของสังคมไทยที่สะท้อนค่านิยมในเรื่องความกตัญญูกตเวทีได้เป็นอย่างดี คือ...การทำบุญวันเกิด
37.ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมชนบท คือ .....วัฒนธรรมตะวันตก
38.ลักษณะเด่นที่สุดของพระพุทธศาสนา คือ...เป็นศาสนาแห่งเหตุและผล , สัจธรรม ความจริง
39.ปฏิสวะ คือ...การฝืนคำรับ , รับแล้วไม่ทำตามนั้นทั้งที่พอจะทำได้อยู่
40. อนุโลมมุสา..... 1.ส่อเสียด 2.ประชด 3.สับปลับ

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 1 - 20

1.การทอดกฐิน สิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ....ผ้าไตรจีวร เป็นมูลเหตุเกิดประเพณี
2.การรณรงค์วัฒนธรรมไทยให้คนไทยได้มีสำนึกถึงความเป็นไทยเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเป็นสำคัญ...สถาบันทางสังคม เพราะ เป็นแบบแผนในการกระทำ การคิด หรือความประพฤติของมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ๆ ที่ยึดถือร่วมกัน
3.มารดาบิดาที่เลี้ยงบุตรให้เป็นสุข ส่งเสียให้ได้รับการศึกษาอบรมแสดงว่าปฏิบัติธรรมข้อใด...เมตตา-ปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
4.การปกครองคณะสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งเป็นประมุขสงฆ์และมีสมเด็จพระราชาคณะอีก.... 8รูป และ พระราชคณะแต่งตั้งอีก 12 รูป
5.ลักษณะวัฒนธรรมไทยที่สำคัญที่สุด คือ.....มีลักษณะของความเป็นไทย, มีแบบแผนทางพิธีกรรม, ยึดถือการทำบุญกุศล, แสดงออกสนุกสนาน, ผูกพันการเกษตร ฯลฯ
6.การนิมนต์พระมาที่บ้าน 5 รูปแสดงว่าทำพิธีใด...เจริญพระพุทธมนต์ อย่างต่ำ 5 รูป ,7รูป ,9 รูป ไม่เป็นจำนวนคู่ แต่พิธีหลวงปัจจุบัน
มักอาราธนาพระเป็นคู่ เช่น 10 รูป เป็นต้น งานแต่งงาน 10 รูป( บ่าว-สาว นิมนต์ฝ่ายละ 5 รูป ) สวดอภิธรรมศพ 4 รูป
7.การพบกระเป๋าสตางค์หล่นแต่ไม่เก็บเอาเป็นของตนเอง ประกาศหาเจ้าของ คือ มีเจตนางดเว้นการทำผิดศีลที่เรียกว่า...สัมปัตตวิรัติ
หมายถึง เจตนางดเว้นเมื่อพบเหตุการณ์เฉพาะหน้า
8.ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงยังกิจของตนและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” สอดคล้องกับ
มรรค 8 ข้อ... สัมมาสติ – การระลึกชอบ
9.การทอดกฐิน จะทำในเดือนใด... วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
10.อิทธิบาท 4 ข้อที่ว่า วิมังสา หมายถึง...ความคิดค้น ใช้ปัญญาพิจารณางาน คือ เข้าใจทำงาน
11.ฟังปาติโมกข์ หรือลงปาติโมกข์ กระทำในวัน...วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือเดือน 4 ปีอธิกมาส , วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระพุทธ
เจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก – เว้นชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์
12.เมตา กรุณา เป็นพื้นฐานช่วยให้เบญจศีลข้อใดรักษาได้ง่ายขึ้น...ปาณาติบาต
13.การศึกษาของพระสงฆ์ตามที่ทางคณะสงฆ์กำหนด ได้แก่ ...1.การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี 2.การศึกษาพระปริยัติธรรม
แผนกธรรม 3.การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์... ซึ่ง แบ่งได้เป็น 2 สถาบัน คือ 1.มหามกุฎราชวิทยาลัย ศน.บ. (ศาสนศาสตรบัณฑิต)
วัดบวรนิเวศวิหาร 2.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พธ.บ. (พุทธศาสตรบัณฑิต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
14.การศึกษาในทางพุทธศาสนามี 2 ประเภท คือ...1.คันถธุระ คือ การศึกษาพระปริยัติธรรม 2. วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติตาม
พระพุทธวัจนะเพื่อบรรลุมรรคผลเบื้องสูง
15.พระไตรปิฎก ประกอบด้วย...1.พระวินัย 2.พระสูตร 3.พระอภิธรรม
16.เจตนารมที่แท้จริงในการเผยแผ่ศาสนาของพระพุทธเจ้า คือ....เพื่อประโยชน์สุขของมหาชน
17.วันอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ชื่อ....ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
18.การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ จัดอยู่ใน....สหธรรม- การอยู่ร่วมกัน
19.การกราบพระรัตนตรัยมี 3 จังหวะ คือ...1.อัญชลี 2.วันทา 3.อภิวาท
20.สมานัตตตา แปลว่า วางตัวเหมาะสม เสมอภาค สมกับฐานะตน ตรงกับคำพังเพยหรือสำนวนไทย....นกน้อยทำรังแต่พอตัว