ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบ ยศ.ทบ.(ศาสนาและศีลธรรม)ข้อ 181 - 200

181.ปาพจน์ 2 ได้แก่.....1.ธรรม คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ 2.วินัย ข้อบัญญัติที่เป็นหลักกำกับความประพฤติปฏิบัติ
182.ไตรปิฎก
1.วินัยปิฎก – หมวดพระวินัย 8 เล่ม แบ่งเป็น 3 หมวด 5 คัมภีร์
2.สุตตันตปิฎก – หมวดพระสูตร 25 เล่ม แบ่งเป็น 5 นิกาย
3.อภิธรรมปิฎก – หมวดอภิธรรม 12 เล่ม แบ่งเป็น 7 คัมภีร์
183.ธรรมมีอุปการะมาก 2 ...ช่วยให้ดำเนินชีวิตทำกิจได้ดี ตื่นตัว รอบครอบ ทันเหตุการณ์
1.สติ ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
184.ธรรมคุ้มครองโลก 2 ...ช่วยรักษาตัวไม่ให้ตกไปในทางเสื่อม และช่วยให้รับผิดชอบในการรักษาสังคม
1.หิริ ความละอายบาป 2.โอตตัปปะ ความกลัวบาป
185.บุคคลหาได้ยาก 2 ...สังคมจะดีงามเจริญมั่นคง
1.บุพการี ผู้ทำอุปการะก่อน 2.กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
186.บุญกิริยาวัตถุ 3 ....ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, หลักการทำความดี, ทางทำความดี
1.ทานมัย - ปันทรัพย์สิ่งของและศิลปวิทยา
2.สีลมัย - รักษาศีล ประพฤติดีมีวินัย
3.ภาวนามัย - เจริญภาวนา
187.ทาน....การให้ การเผื่อแผ่แบ่งปัน การบริจาค
1.อามิสทาน – การให้วัตถุ 2.ธรรมทาน – การให้ธรรม ความรู้และแนะนำสั่งสอน
1.ปาฏิบุคลิกทาน – ให้จำเพาะบุคคล เจาะจงตัว 2.สังฆทาน – การให้แก่สงฆ์ ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม
188.อกุศลมูล 3 ....รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว
1.โลภะ – ความอยากได้ 2.โทสะ – ความคิดปทุษร้าย 3.โมหะ – ความหลง
189.ศีล 5 มีชื่อเรียก..... นิจศีล – คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ, มนุษญธรรม – ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์
190.ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล เพิ่มจากศีล 5 คือ
1.งดบริโภคอาหารยามวิกาล(หลังเที่ยง)
2.เว้นฟ้อนรำขับร้อง
3.เว้นจากที่นอนสูงใหญ่หรูหรา
191.อบายมุข 6 ....ช่องทางของความเสื่อม ทางแห่งความพินาศ
1.เสพติดสุรายาเมา 2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา 3.จ้องหาแต่การบันเทิง
4.ระเริงเล่นติดการพนัน 5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว 6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน
192.วัฒนมุข 6 ....ปากทางแห่งความเจริญ
1.อาโรคยา – ความไม่มีโรค 2.ศีล – ประพฤติดีมีวินัย ไม่ก่อเวร
3.พุทธานุมัต – ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต
4.สุตะ – ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ 5.ธรรมานุวัติ – ดำเนินชีวิตและกิจการโดยชอบธรรม
6.อลีนตา – เพียรพยายามไม่ระย่อ ท้อถอย เฉื่อยชา
193.อคติ 4 ...ความลำเอียง
1.ฉันทาคติ - ลำเอียงเพราะชอบ ,รัก 2.โทสาคติ - ลำเอียงเพราะชัง
3.โมหาคติ - ลำเอียงเพราะเขลา , หลง 4.ภยาคติ - ลำเอียงเพราะกลัว
194.พรหมวิหาร 4 ...ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่ เรียกอีกว่า...อัปปมัญญา 4
1.เมตตา – ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข
2.กรุณา – ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์
3.มุทิตา – ความยินดีเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
4.อุเบกขา – ความมีใจเป็นกลาง
195.สังคหวัตถุ 4 ...ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว, หลักการสงเคราะห์
1.ทาน – การให้
2.ปิยวาจา (เปยยวัชชะ) – วาจาที่รัก
3.อัตถจริยา – ประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตตา – ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในทุกข์สุข
196.นิวรณ์ 5 ...ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา ทำให้จิตเศร้าหมอง ทำปัญญญาให้อ่อนกำลัง
1.กามฉันทะ – ความพอใจติดใคร่กาม
2.พยาบาท – ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ
3.ถีนมิทธะ – ความง่วงหงาวหาวนอน ความหดหู่และเซื่องซึม ท้อแท้และเฉาซึม ห่อเหี่ยว
4.อุทธัจจกุกกุจจะ – ความฟุ้งซ่านร้อนใจ กระวนกระวาย กลุ้มกังวล
5.วิจิกิจฉา – ความลังเลสงสัย เคลือบแคลง
197.ตัวพระพุทธศาสนา เปรียบได้กับ ต้นไม้
1.ลาภสักการะ เหมือน กิ่งไม้
2.ศีล เหมือน สะเก็ดไม้
3.สมาธิ เหมือน เปลือกไม้
4.ปัญญา เหมือน กระพี้ไม้
5.วิมุตติ(ความหลุดพ้น) เป็นแก่น
198.ศาสนพิธี เปรียบกับ ต้นไม้
1.ศาสนพิธี เป็น เปลือก
2.พระธรรมคำสอน เป็น แก่น
199.วัดประจำราชกาลที่ 1 – วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
วัดประจำราชกาลที่ 2 – วัดอรุณราชวราราม
วัดประจำราชกาลที่ 3 – วัดราชโอรสาราม
วัดประจำราชกาลที่ 4 – วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 5 – วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม
วัดประจำราชกาลที่ 6 – วัดสุทัศน์เทพวราราม
200.ลักษณะสำคัญของสังคมไทย....ประกอบด้วยคนไทยเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้มีอาณาเขตที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีความอิสระแยกจากกลุ่มอื่น สามารถเลี้ยงตนได้ มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น