ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บทที่ ๒ ประวัติพระพุทธเจ้า , บทที่ ๒-๑ ประสูติ

  • พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เพียบพร้อมด้วยความดีงามหลายประการ เช่น มีความรู้จริง เห็นจริง ซึ่งความทุกข์และแนวทางดับทุกข์ มีความบริสุทธิ์สะอาดทางกาย วาจา และจิตใจ และที่สำคัญคือมีความกรุณาอันยิ่งใหญ่ ช่วยสั่งสอนแนวทางดำเนินชีวิตที่ประเสริฐให้แก่ชาวโลก ช่วยปลดเปลื้องทุกข์ สร้างความสุขที่แท้จริงแก่ชาวโลก โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก
  • การศึกษาพุทธประวัติ นอกจากจะได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธเจ้า อันเป็นการเพิ่มพูนความเป็นผู้คงแก่เรียนแก่ตนเองแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อให้รู้สึกซาบซื้ง ในคุณงามความดีของพระองค์ แล้วพยายามนำเอามาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของตน
ประสูติ
  • พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ
  • วันประสูติของพระราชกุมารสิทธัตถุตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระราชกุมารได้รับขนานนามว่า "สิทธัตถะ" (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ทรงประสงค์) พราหมณ์ทั้ง ๘ ผู้เชียวชาญในการทำนายลักษณะ ได้พยากรณ์ว่า ถ้าพระราชกุมารสิทธัตถะอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าเสด็จออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
  • หลังประสูติได้ ๗ วัน พระราชมารดาก็สวรรคต พระนางปชาบดีโคตมี พระกนิษฐาของพระสิริมหามายา ได้เป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารสิทธัตถะสืบต่อมา
  • พระราชกุมารสิทธัตถะทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาทุกแขนง เท่าที่จำเป็นสำหรับพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากครูวิสวามิตร เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระนางอมิตา แห่งเทวทหนคร ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า "ราหุล"
  • พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติสืบแทน จึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นสร้างปราสาท ๓ หลัง สำหรับประทับ ๓ ฤดู และทรงอำนายความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็มิได้หมกมุ่นมัวเมา ในความสุขเหล่านั้นเลย
  • เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับ ก็ทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือน สิ่งที่ทรงพบเห็นนี้เรียกว่า "เทวทูต" หมายถึง ทูตสวรรค์ หรือผู้ส่งข่าวสารที่ประเสริฐ
  • ในที่สุดพระองค์ก็ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช (เรียกว่า มหาภิเนษกกรมณ์) ในตอนดึกของคนวันหนึ่งทรงตัดพระเมาลีถือเพศบรรพชิตริมฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ภายหลังพระราหุลกุมารประสูติเล็กน้อย
  • จากนั้นได้เสด็จไปยังแคว้นมคธ ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร จนสำเร็จฌานสมาบัติขั้นที่ ๘ ซึ่งจบสิ้นความรู้ของพระอาจารย์ทั้งสอง ทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงอำลาพระอาจารย์ทั้งสองไปบำเพ็ญเพียรตามลำพัง ที่อุรุเวลาเสนานิคม ในช่วงนี้ ปัญจวัคคีย์ คือพราหมณ์ทั้งห้าได้แก่ ท่านโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ได้ตามมาคอยปรนนิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานกายด้วยวิธีต่าง ๆ ตามที่ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์สมัยนั้นกระทำกันอยู่ ในที่สุดก็ทรงบำเพ็ญหรือกระทำ "ทุกรกิริยา" (การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง) มี ๓ ขั้นตอนตามลำดับคือ ขั้นที่ ๑ กัดฟัน ขั้นที่ ๒ กลั้นลมหายใจ ขั้นที่ ๓ อดอาหาร
  • พระองค์ทรงทำถึงขั้นนี้แล้วก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ ทรงได้คิดว่ามิใช่ทางที่ถูกต้อง จึงทรงเลิกกระทำทุกรกิริยา หันมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม ทำให้ปัญจวัคคีย์เสื่อมศรัทธา พากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การเช่นนี้กลับเป็นผลดีแก่พระสิทธัตถะ เพราะได้สร้างบรรยากาศอันเงียบสงัด ปราศจากเสียงรบกวนจากบุคคลอื่น เอื้อต่อการบำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างยิ่ง
  • พระองค์ทรงฝึกฝนอบรมจิตให้สงบ ตามแนวทางแห่งมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลางซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น