ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บุญกิริยาวัตถุ

บุญบาป

จะศึกษาเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ควรได้ทำความเข้าใจในทรรศนะของพระพุทธศาสนา ในปัญหาเรื่องบาปบุญเสียก่อน ได้มีคนอยู่ไม่น้อยที่เข้าใจว่า บุญเป็นวัตถุอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งแห่ล้อมไปกับผู้มีบุญ คอยให้ผลอย่างมากมายในชาติหน้า และบาปก็เป็นวัตถุอีกอย่างหนึ่ง หรือเป็นบันทึกโทษที่ยมบาลได้จารึกลงในหนังสุนัขซึ่งจะใช้เป็นข้อฟ้องร้องในอวสานแห่งชีวิต ความเข้าใจอย่างนี้ จะว่าผิด

ทีเดียวก็ไม่ได้ แต่คงจะเกินเหตุผลความจริงอยู่บ้าง

ที่แท้แล้ว บุญคือความดีขึ้นแห่งจิต และบาปก็คือ ความเสียหายแห่งจิตนั่นเอง ความดีขึ้น เจริญขึ้น ประณีตขึ้น สูงขึ้นแห่งจิต มีที่ดูได้ง่าย ๆ คือ ดูที่ความสะอาดผุดผ่องของจิต ฉะนั้น อาการดีขึ้นของจิตทั้งหมด รวมใช้คำว่า บุญ แปลว่า บริสุทธิ์สะอาด

ความต่ำทราม ความเสื่อมโทรม และความเสียหายของจิต ท่านรวมใช้คำว่า ชั่ว เลว เสีย สกปรก

บุญ คือความสะอาดแห่งจิต ฉะนั้น จึงไม่เป็นของยากที่จะวินิจฉัย ความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนเรา เช่น ความสะอาดของร่างกาย ความสะอาดของที่อยู่ ความสะอาดของเสื้อ ความสะอาดของถ้วยชาม และในทุกกรณี ความสะอาดจำเป็นทั้งนั้น เราจึงต้องล้างหน้า อาบน้ำ ปัดกวาดบ้านเรือน ซักเสื้อผ้า และล้างถ้วยล้างชามเพื่อจะให้เกิดความสะอาด สิ่งของเหล่านี้ ถ้าสะอาดแล้ว ใช้งานได้ดี ไม่มีโทษ และเกิดความสวยงาม

จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้าสะอาดแล้ว ย่อมปลอดโปร่ง ความคิดอ่านแจ่มใส เป็นความคิด

ที่ไม่มีภัย ความคิดสะอาดนั้น ยังเป็นพลังสำคัญในการส่งจิตเข้าสู่คติอันดีเมื่อออกจากร่างนี้แล้วด้วย

ฉะนั้น พระจึงสอนให้เราทำความสะอาดจิต แต่ท่านใช้คำว่าทำบุญตามสำนวนทางศาสนา การทำบุญนั้นเป็นการทำประโยชน์แก่ตัวเราเอง มิใช่ทำให้พระอย่างบางคนเข้าใจ พระท่านเป็นเพียงผู้บอกกล่าวในการทำบุญของเรา ถึงท่านจะได้รับผลจากกการทำบุญของคนอื่น ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เหมือนเราอาบน้ำฟอกสบู่ ก็เป็นการกระทำประโยชน์ให้ตัวเราโดยตรง ส่วนบริษัทขายสบู่จะได้ผลบ้าง นั่นเป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่จะเรียกว่าเราอาบน้ำเพื่อทำประโยชน์ให้บริษัทขายสบู่ไม่ได้

บุญกิริยาวัตถุ คือ วิธีทำบุญ มี ๓ วิธี คือ

. ทาน การให้ (ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน)

ความหมายและความมุ่งหมาย ทานคือการให้ โดยทั่วไป มี ๒ ประการ คือ

- การให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้เอง

- การให้เพื่อมุ่งสงเคราะห์ผู้รับ

ทั้งสองความมุ่งหมายนี้ ท่านใช้ศัพท์ว่า ทาน เหมือนกัน แต่ในบุญกิริยาวัตถุนี้

มุ่งหมายเอาการให้เพื่อมุ่งฟอกกิเลสในใจของผู้ให้เท่านั้น

ทานสมบัติ ๓ (คุณสมบัติของทาน)

การให้ทาน ซึ่งจะทำให้บังเกิดผลในทางฟอกกิเลสนั้น จะต้องเป็นการให้ที่มีองค์สมบัติ

อย่าง ที่เรียกว่า ทานสมบัติ คือ:-

- วัตถุ คือ ของที่จะให้ทาน จะต้องเป็นของที่ได้มาโดยบริสุทธิ์

- เจตนา คือ มีความตั้งใจที่จะทำบุญ มิใช่มุ่งอย่างอื่น

- บุคคล คือ บุคคลผู้ให้และผู้รับเป็นคนดีมีศีล

ทานที่มีองค์สมบัติครบทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นทานที่มีผลสมบูรณ์ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ผลก็ลดลงตามส่วน โปรดสังเกตว่า การให้สิ่งของซึ่งเรียกว่า ทาน ถ้ากระทำได้ตามหลักเกณฑ์

ดังนี้ จิตของผู้ให้ย่อมจะถูกขัดเกลาให้สะอาดขึ้นทุกคราว ที่เรียกว่า ได้บุญ

. ศีล (ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล)

ความหมาย ศีล คือ การตั้งใจรักษากายวาจาของตนให้ปกติและเรียบร้อย ไม่ละเมิดข้อห้ามต่าง ๆ ตามภูมิชั้นของตน

ความมุ่งหมาย การรักษาศีลเป็นวิธีฝึกร่างกายและจิตใจควบกันไป สามารถทำให้กิเลสซึ่งรัดตรึงจิตอยู่คลายตัวออกได้อย่างประหลาด และมีความสะอาดผุดผ่องขึ้นแทน ความสะอาดผุดผ่องนั่นแหละ คือ บุญที่ได้

ชั้นของศีล พระพุทธเจ้าทรงวางกำหนดการรักษาศีลไว้เป็นชั้น ๆดังนี้

ชั้นคฤหัสถ์ รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘

ชั้นสามเณร รักษาศีล ๑๐

ชั้นภิกษุ รักษาศีล ๒๒๗

ศีลที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมมี ๕ ข้อ ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ส่วนศีล ๘ - ๑๐ - ๒๒๗ นั้น เป็นส่วนขยายจากศีลห้า ให้ละเอียดยิ่งขึ้น บางทีศีลที่ขยายขึ้นไปท่านเรียกว่า วัตรหรือ พรต

. ภาวนา (ภาวนา บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา)

ความหมาย ภาวนา หมายถึงการอบรมจิตให้ฉลาด ให้รู้ผิดรู้ชอบจนกระทั่งให้เกิดปัญญา สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้น

กิจ (หน้าที่) กิจที่เรียกว่า ภาวนา ในที่นี้หมายถึง

การศึกษา หมายถึง การเรียน อ่าน ฟัง ฝึกให้รู้และชำนิชำนาญงานต่าง ๆ

การวิจัยงาน หมายถึงการใช้ปัญญาค้นคว้าหาเหตุผลในการทำงาน รวมทั้งการค้นคิด

ประเภทของภาวนา ประเภท คือ

. สมถะ หมายถึง การทำสมาธิให้ใจสงบ

. วิปัสสนา หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาสังขาร

โดยหลักปฏิบัติทั้ง ๔ นี้ ท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่าภาวนาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนและทุกวัย และภาวนาเป็นการสร้าง บุญขึ้นที่จิตใจโดยตรงทีเดียว เพราะเป็นการกำจัดกิเลสออกจากจิต

วิธีทำจิตใจให้สะอาด ความจริงยังมีอีกมาก การปฏิบัติธรรมะ หรือการประพฤติดี

ทุกข้อก็เป็นการทำให้จิตสะอาดได้ทั้งนั้น แต่ที่ท่านจัดบุญกิริยาวัตถุไว้อย่างนี้ เป็นการแสดงหัวข้อปฏิบัติแยกออกเป็น ๓ สายเท่านั้น

เพราะกิเลสที่จะยึดครองจิตของเรามี ๓ สาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธเจ้าจึง

ทรงวางแผนปฏิบัติกำจัดกิเลส ที่เรียกว่า วิธีทำบุญไว้ ๓ สาย เข้าต่อสู้คู่กันกับกิเลสดังกล่าวนี้ ซึ่งยิ่งทำให้ฝ่ายกิเลสปราชัยไปได้มากเท่าไร จิตก็ยิ่งสะอาดมากเท่านั้น และกล่าวตามสำนวนศาสนาว่า ได้บุญมาก

ข้อควรจำที่สำคัญ คือการปฏิบัติเพื่อต่อต้านกิเลส จำเป็นจะต้องทำควบกันไปทั้ง ๓ ทาง คือ ทาน ศีล ภาวนา เพราะกิเลสรุกมา ๓ ทาง การทำบุญด้วยวิธีให้ทานอย่างเดียว แต่ไม่รักษาศีล ไม่บำเพ็ญภาวนาเลย บุญที่ได้ก็ไม่สมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น