ลงทุนกับ myinvestmentarea

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เบญจศีลสิกขาบทที่ ๔

มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ

. ความมุ่งหมาย ศีลข้อนี้ ท่านบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันการทำลายประโยชน์ของตนและผู้อื่นด้วยการพูดเท็จ และให้รู้จักฝึกอบรมจิตใจให้เป็นคนมั่นคงในความดี

เมื่อเพ่งความมุ่งหมายดังกล่าวแล้ว พึงทราบว่าในสิกขาบทนี้ท่านห้ามดังต่อไปนี้

. มุสา แปลว่า เท็จ ได้แก่โกหก ส่วนมาก เราเข้าใจกันว่า การกล่าวคำโกหก คือการใช้ปากกล่าว แต่ในทางศีล ท่านหมายถึงการทำเท็จทุกอย่าง จะทำเท็จด้วยการกล่าว หรือทำเท็จด้วยการไม่กล่าว ก็เป็นการเท็จได้ทั้งนั้น เมื่อแยกวิธีและวิธีทำมุสาวาท แล้วจะมีลักษณะดังนี้

วิธีทำเท็จ มี ทาง คือ

ทางวาจา คือ กล่าวออกมาเป็นคำเท็จ ตรงกับคำว่า โกหกชัด ๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้ว

ทางกาย คือทำเท็จด้วยร่างกาย เช่นเขียนจดหมายโกหก รายงานเท็จ ทำหลักฐานปลอม ตีพิมพ์ข่าวเท็จเผยแพร่ ทำเครื่องหมายให้คนอื่นหลงเชื่อ ตลอดจนการทำใบ้ให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่นสั่นศีรษะในเรื่องควรรับ หรือพยักหน้าในเรื่องควรปฏิเสธ

วิธีแห่งมุสาวาท มุสาวาทนั้นมี ๗ วิธีคือ

- ปด ได้แก่การโกหกชัด ๆ ไม่รู้ก็ว่ารู้ ไม่เห็นก็ว่าเห็น ไม่มีก็ว่ามี หรือรู้ก็ว่าไม่รู้ เห็นก็ว่าไม่เห็น มีก็ว่าไม่มี อย่างนี้เรียกว่า ปด

- ทนสาบาน คือทนสาบานตัว เพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อ การสาบานนั้นอาจมีการสาปแช่งด้วยหรือไม่ก็ตาม ชั้นที่สุดคนที่อยู่ด้วยกันมาก ๆ เช่น นักเรียนทั้งชั้น เมื่อมีผู้หนึ่งทำความผิดแต่ จับตัวไม่ได้ ครูจึงเรียกประชุม แล้วก็ถามในที่ประชุมและสั่งว่า ใครเป็นคนทำผิดให้ยืนขึ้น นักเรียน คนทำผิดไม่ยอมยืน นั่งเฉยอยู่เหมือนกับคนที่เขาไม่ได้ทำผิด ทำอย่างนี้ก็เป็นการมุสาด้วยการทนสาบาน

- ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์เกินความจริง เช่นอวดรู้วิชาคงกะพัน ว่าฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก อวดวิชาเล่ห์ยาแฝดว่าทำให้คนรักคนหลง อวดความแม่นยำทำนายโชคชะตา อวดวิเศษใบ้หวยบอกเบอร์

- มายา คือแสดงอาการหลอกคนอื่น เช่นเจ็บน้อยทำทีเป็นเจ็บมาก หรืออย่างข้าราชการบางคนต้องการจะลาพักงาน และถ้าลาตรง ๆ เกรงผู้บังคับบัญชาจะไม่เห็นใจ จึงแกล้งทำหน้าตาท่าทางว่าป่วย ใช้มือกุมขมับ แสดงว่าปวดศีรษะ กุมท้อง แสดงว่าปวดท้อง

- ทำเลศ คือใจอยากจะกล่าวเท็จ แต่ทำเป็นเล่นสำนวน กล่าวคลุมเครือให้ผู้ฟัง คิดผิดไปเอง

- เสริมความ คือเรื่องจริงมี แต่มีน้อย คนกล่าวอยากให้คนฟังเป็นเรื่องใหญ่ จึงกล่าวพร้อมประกอบกิริยาท่าทางให้เห็นเป็นเรื่องใหญ่โต เช่นเห็นไฟไหม้เศษกระดาษนิดเดียว ก็ตะโกนลั่นว่า ไฟไหม้ ๆคิดจะให้คนฟังเข้าใจว่าไฟไหม้บ้านเรือน หรือคนโฆษณาขายสินค้า พรรณนาสรรพคุณเกินความจริง ก็นับเข้าในเจตนาเสริมความนี้

- อำความ การอำความนี้ ตรงข้ามจากเสริมความ เสริมความ คือทำเรื่องเล็กให้ใหญ่ ส่วนอำความ คือทำเรื่องใหญ่ให้เล็ก

.อนุโลมมุสา อนุโลมมุสา คือเรื่องที่กล่าวนั้นไม่จริง แต่ผู้กล่าวก็มิได้มุ่งจะให้

ผู้ฟังหลงเชื่อ เช่นคนกล่าวประชดคนทำอะไรช้า ๆ ว่า คนนั้นเขาทำมาตั้งปีแล้ว คนที่ถูกเขาว่านั้นความจริงไม่ได้ช้าถึงปี และคนที่กล่าวก็ไม่ประสงค์จะให้คนนั้นหลงเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น แต่มุ่งจะว่า กล่าวให้เจ็บใจ อย่างนี้เรียกว่าทำประชด เป็นอนุโลมมุสา

.ปฏิสสวะ ปฏิสสว ได้แก่การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลัง เกิดกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น โดยที่ตนยังพอจะทำตามคำที่รับมาได้อยู่

การกระทำในข้อ ๑. ทำให้ศีลขาด ส่วนข้อ ๑.๒ และข้อ ๑.๓ ทำให้ศีลด่างพร้อย

หมายเหตุ (ข้อยกเว้น) มีคำกล่าวอีกประเภทหนึ่ง ผู้กล่าว กล่าวไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์จะให้ผู้ฟังเชื่อ ซึ่งเรียกว่า ยถาสัญญา คือกล่าวตามความสำคัญ ผู้กล่าวไม่ผิดศีล คือ

.โวหาร ได้แก่ถ้อยคำที่ใช้เป็นธรรมเนียมเพื่อความไพเราะของภาษา เช่น เราเขียนจดหมาย ลงท้ายว่า ด้วยความนับถืออย่างยิ่งนี่เราเขียนตามธรรมเนียมของจดหมาย ความจริงเราไม่ได้นับถืออย่างยิ่ง หรืออาจไม่นับถือเขาเลยก็ได้

. นิยาย เช่นคนผูกนิทานขึ้นมาเล่า หรือแต่งเรื่องลิเกละคร เขาบอกผู้ดูว่าเขาเป็นอย่างนั้น เขาเป็นอย่างนี้ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ก็ไม่ผิดศีล เพราะเขาไม่ตั้งใจจะให้คนฟังหลงเชื่อ เพียงแต่แสดงไปตามเรื่อง

. สำคัญผิด คือผู้กล่าวเข้าใจอย่างนั้น กล่าวไปตามความเข้าใจของตน เช่น เราจำชื่อหรือที่ตั้งวัดผิด เมื่อมีใครถาม เราก็ตอบไปตามที่จำได้ ก็เป็นอันไม่ผิดศีล

. พลั้ง คือ กล่าวพลั้งไป ไม่มีเจตนา

เป็นอันว่า คำกล่าวประเภท โวหาร นิยาย สำคัญผิด พลั้ง เป็นข้อยกเว้น ผู้กล่าวไม่ผิดศีล

. ข้อห้าม ศีลข้อนี้ ห้ามการปฏิบัติทั้ง ๓ ประการนั้น (ห้ามข้อ ๑., .๒ และ ๑.)

. หลักวินิจฉัย การปฏิบัติที่จะเรียกว่าเป็นมุสาวาท (ศีลข้อที่ ๔ ขาด ) จะต้องประกอบ ด้วยองค์ ๔ คือ

. เรื่องไม่จริง ที่ว่าจริงหรือไม่จริง คือ เรื่องที่พูดนั้นไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เช่น ฝนไม่ตกเลย แต่บอกว่าฝนตก อย่างนี้เรียกว่า เรื่องไม่จริง

. จิตคิดจะกล่าวให้ผิด คือ มีเจตนาจะกล่าวบิดเบือนความจริงเสีย ถ้ากล่าวโดยไม่เจตนาจะกล่าวให้ผิด ศีลไม่ขาด

. พยายามกล่าวออกไป คือได้กระทำการเท็จด้วยเจตนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่คิดเฉย ๆ

. คนฟังเข้าใจเนื้อความนั้น ส่วนที่ว่าเขาจะเชื่อหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นสำคัญ

. เหตุผลอื่น (เหตุผลของผู้รักษาศีลข้อ ๔)

ระหว่างคนทั้งสอง คือ คนกล่าวคำโกหก กับคนฟังคำโกหก ผู้กล่าวคำโกหกเป็นผู้เสียหายร้ายแรงกว่า เพราะการโกหกแต่ละครั้ง สัจธาตุในจิตของเขาถูกทำลายลงไป เขาจะกลายเป็นคนเหลาะแหละและเหลวแหลกในที่สุด ฝ่ายคนฟังคำโกหกจะถูกทำลายเพียงความรู้สึกบางอย่างของจิตเท่านั้น

คนคิดทำลายผู้อื่นด้วยการกล่าวคำโกหก ก็ไม่ผิดอะไรกับคนที่กรีดเลือดของตนออกเขียนด่าคนอื่น เขาเป็นคนไร้สัจธาตุ เป็นโมฆบุรุษ สติปัญญาหากมีและทำให้กล่าวหรือแสดงคำโกหกได้คล่อง สติปัญญาที่มีนั้นก็มีเพื่อพิฆาตฆ่าตัวเขาผู้เป็นคนพาลเอง ดุจปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ลูกม้าอัสดร เกิดมาเพื่อฆ่ามารดาตน จะยกแผ่นดิน และหรือแผ่นฟ้าทุกจักรวาลให้ ก็หาหยุดยั้งหรือสนองความเป็นคนพาล ความเป็นคนเปล่าประโยชน์ของเขาได้ไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น